หมวดหมู่: แบงก์พาณิชย์

KKPอภนนท


KKP เผยปี 60 มีกำไรสุทธิ 5.7 พันลบ. โต 3.4% หลังสินเชื่อโต 9.3%

       ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP รายงานผลดำเนินงานปี 60 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 5,737 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิจำนวน 5,547 ล้านบาทในปี 2559 โดยเป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน โดยบริษัท ทุนภัทร จากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 895 ล้านบาท

        สินเชื่อของธนาคารในปี 2560 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2559 หลังจากที่มีการหดตัว 3 ปีต่อเนื่องในปี 2557 - 2559 โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในเกือบทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการหดตัว ทั้งนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวที่ร้อยละ 204.8 สินเชื่อ Micro SMEs ซึ่งรวมสินเชื่อ SME Car3x ขยายตัวที่ร้อยละ 83.9 สินเชื่อบุคคลขยายตัวที่ร้อยละ 35.5 สินเชื่อบรรษัทมีการขยายตัวที่ร้อยละ 129.7 สินเชื่อ Lombard ขยายตัวที่ร้อยละ 62.2 สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ในขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังคงหดตัวที่ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2559

      ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ ปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพรวมมีการปรับลดลง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 5.6 ณ สิ้นปี 2559 อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) อยู่ที่ร้อยละ 109.8 ใกล้เคียงกับ ณ สิ้นปี 2559 ที่อยู่ที่ร้อยละ 110.1

      ในส่วนของเศรษฐกิจในช่วงปี 2561 แม้ว่าจะมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตา 3 ประการหลัก ได้แก่ หนึ่ง เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างทั่วถึงหรือไม่ โดยที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากภาคระหว่างประเทศเป็นหลัก ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัว โดยหากเงื่อนไข 3 ประการเป็นจริง อันได้แก่ (1) อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) ราคาสินค้าเกษตรเริ่มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และ (3) ค่าจ้างโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานระดับล่าง ก็อาจทาให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างทั่วถึงมากขึ้น

        สอง การลงทุนของภาครัฐและเอกชนจะกลับมาขยายตัวหรือไม่ โดยที่ผ่านมา การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ (ที่รวมรัฐวิสาหกิจ) ต่ากว่าเป้ามาโดยตลอด แต่หากการเบิกจ่ายงบประมาณทาได้ตามเป้า และสามารถเร่งการก่อสร้างโครงการภาครัฐตามที่ประกาศไว้จริง ก็จะมีส่วนเหนี่ยวนา (Crowding-in) การลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาได้บ้าง

       และสาม ความตึงตัวภาคการเงินจะผ่อนคลายลงหรือไม่ โดยที่ผ่านมานั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจะอยู่ในระดับต่า แต่สภาพคล่องทางการเงินมิได้ไหลเข้าไปสู่ภาคธุรกิจที่มีความต้องการทางการเงินเท่าที่ควร เช่น ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว และคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่า แต่หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกระจายตัวทั่วถึงขึ้น อาจทาให้คุณภาพสินเชื่อเริ่มกลับมาดีขึ้น และส่งผลบวกต่อการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป ทั้งนี้ นโยบายการเงินโลกจากธนาคารกลางชั้นนา เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ที่จะเริ่มตึงตัวขึ้น ก็อาจส่งผลต่อความตึงตัวทางการเงินในประเทศด้วยเช่นกัน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!