หมวดหมู่: กสทช.

AISวรวฒน เกยรตพงษถาวร


ADVANC ยันไม่ได้ขอลดจำนวนค่าประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz แค่ขอให้ขยายจำนวนงวดชำระงวดสุดท้ายพร้อมจ่ายดอกเบี้ยตามรัฐกำหนด

       นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ตามที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมผู้ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz ได้ยื่นหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ขอพิจารณาผ่อนผันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 4 ในปี 2563 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายออกไปเป็น 7 งวด และยกเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการผ่อนผันชำระเงินดังกล่าวด้วย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ซึ่ง คสช. ได้ส่งให้ กสทช. พิจารณาเหตุผลและความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมอย่างรอบด้าน และกสทช. ได้พิจารณาเสนอกลับไปยัง คสช. ให้ขยายออกไปเพียง 5 งวด พร้อมให้ชำระดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยกลางที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ประมาณ 1.5%) นั้น

      นับว่า เป็นข้อเสนอมาตรการผ่อนผันที่เพียงพอที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคม เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล ที่ได้รับการพิจารณามาตรการผ่อนผันการชำระเงินประมูลทีวีดิจิตอลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 2 อุตสาหกรรมเป็นผู้ที่ได้ใบอนุญาตจากการประมูลคลื่นความถี่จากกสทช. เช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการพิจารณาในหลักการเดียวกัน

      ทั้งนี้ การยื่นขอพิจารณาการผ่อนผันการชำระค่างวดเงินประมูลงวดที่ 4 ทางบริษัทฯขอชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการขอลดจำนวนเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ที่ต้องชำระให้แก่ภาครัฐแต่อย่างใด แต่เป็นการขอความช่วยเหลือเพื่อขยายจำนวนงวดชำระงวดสุดท้ายเท่านั้น และบริษัทฯพร้อมที่จะชำระดอกเบี้ยตามที่รัฐได้กำหนดขึ้น ซึ่งไม่ได้ทำให้รัฐ และประชาชนเสียประโยชน์แต่อย่างใด

      ขณะเดียวกัน บริษัทฯยังคงปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กสทช.กำหนดไว้เดิม โดยได้มีหลักประกันธนาคารให้แก่กสทช.ครบถ้วนตามมูลค่าคลื่นที่ต้องชำระ ดังนั้น การแบ่งชำระของบริษัทฯจึงไม่ได้เป็นการผิดนัดการชำระ จนต้องคำนวนเป็นอัตราดอกเบี้ยค่าปรับ (15%) หรือทำให้รัฐเสียประโยชน์จากการผิดนัด

   อย่างไรก็ตาม หาก คสช. มีข้อสรุปไม่ให้ขยายระยะเวลาการชำระค่างวดเงินประมูลคลื่นความถี่ บริษัท ฯ ก็เคารพในการตัดสินใจของ คสช. แต่หาก คสช. มีข้อสรุปให้ผ่อนผันการชำระหนี้พร้อมเงื่อนไขจ่ายดอกเบี้ยให้กับรัฐด้วยนั้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมมีเงินที่สามารถนำไปขยายโครงข่าย และเพิ่มความถี่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ยังเป็นการสอดรับ และสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป

       อินโฟเควสท์

ดีอี'หนุนคสช.ยืดหนี้ 2 ค่ายมือถือ ชี้รัฐไม่เสียประโยชน์-ช่วยประมูลรอบใหม่ฉลุย

          แนวหน้า : แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้ความเห็นถึงกรณีที่ นักวิชาการจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ออกมาคัดค้านการ ที่รัฐบาลและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จะออก ม.44 ช่วยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และมือถือ ว่าการที่ทีดีอาร์ไอมองว่าหากรัฐบาลยอมให้ผ่อนจ่ายค่าไลเซ่นส์ออกไปเท่ากับเป็นการอุ้มเอกชน เป็นเพราะทีดีอาร์ไอมองแค่ประโยชน์ของภาครัฐเท่านั้น ไม่ได้มองไปถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยรวม ซึ่งจริงแล้วเรื่องจะมองแต่เรื่องของผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับเพียงด้านเดียวไม่ได้

          ทั้งนี้ หากเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้รับการผ่อนผัน เท่ากับว่าผู้ประกอบการจะมีโอกาสนำเงินไปลงทุนในการพัฒนาโครงข่ายเพื่อสนองและสอดรับนโยบายรัฐบาลที่ในการกระตุ้นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ที่สำคัญหากรัฐบาล และ กสทช.ยังคงยืนกรานที่จะไม่ผ่อนผัน การชำระค่าธรรมเนียมก้อนใหญ่ ก็เชื่อแน่ว่าจะ ส่งผลต่อการประมูลคลื่นความถี่ 4 จีบนคลื่น 900 และ 1800 รอบใหม่ ที่จะเหลือผู้ประกอบการ ดีแทคเพียงค่ายเดียวเข้าประมูล ขณะที่ 2 ค่ายมือถือที่ต้องเตรียมเงินหมดหน้าตักไปจ่าย ค่าธรรมเนียมให้รัฐนั้นจะไม่อยู่ในสถานะที่จะร่วมประมูลด้วยแน่

         "ทั้งทรูมูฟและเอไอเอสวันนี้ต่างมีคลื่นความถี่ในมือมากกว่า 50 เมก ที่มากพอจะดูแลลูกค้าในระดับหนึ่งอยู่แล้วหากถูกบีบให้ชำระ ค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในงวดเดียวหมดหน้าตัก 2 ค่ายคงไม่เข้าร่วมประมูลแน่ ผลเสียที่จะเกิดตามมานอกจากจะไม่มีการแข่งขันแล้ว หากท้ายที่สุด กสทช.ต้องเลื่อนการประมูลออกไปหรือเก็บคลื่นความถี่ 4 จีกลับไปด้วยอีกผลเสียจะเกิดต่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวมทันที"

           ส่วนการคำนวณผลประโยชน์ที่อ้างว่ารัฐจะยกประโยชน์ให้เอกชนไปถึง 15% มีส่วนต่าง กว่า 30,000 ล้านบาทนั้น เป็นการอ้างอิงจากดอกเบี้ยผิดนัด ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น และเอกชนเองก็ไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ แต่เป็นการขอผ่อนปรนการชำระค่าธรรมเนียมออกไปเท่านั้นโดยรัฐยังคงได้รับค่าธรรมเนียมโดยรวมครบถ้วน

         นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC กล่าวยืนยันว่า บริษัทจะเข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz อย่างแน่นอน โดยคาดหวังว่า กสทช.จะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวได้ภายในปีนี้

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!