หมวดหมู่: บริหาร-จัดการ

1aaa5Aวชญ วงศหาญเชาว


เติมแต้มต่อทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีแบบอินเทลลิเจนท์

นายวิชญ์ วงศ์หาญเชาว์ Business Development – Digital Transformation บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

     การแข่งขันทางธุรกิจเข้มข้นขึ้นจนองค์กรที่มี บิสซิเนส อินเทลลิเจนซ์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจเริ่มไม่เพียงพอต่อการแข็งขันทางธุรกิจ บริษัทเริ่มกลับมามองข้อมูลที่ตัวเองมี ดึงข้อมูลจากภายนอก เพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้า เช่น 1) มีการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ขบวนการผลิตและให้บริการเพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในแง่ของคุณภาพ เวลา ต้นทุน 2) สร้างระบบที่รองรับการผลิตสินค้าหรือบริการสำหรับลูกค้าแต่ละคนจำนวนมากๆได้ (mass customization) เพื่อรองรับความต้องการของแต่ละคน โดยเฉพาะคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆที่มีทางเลือกมีความต้องการปัจเจก และ 3) สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อที่จะนำเสนอกลุ่มบริการและผลิตภัณฑ์เต็มรูปแบบที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ตัวอย่างทั้ง 3 ข้อข้างต้นก็เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอันจะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างเสริมรายได้ และความสำเร็จทางธุรกิจ

      เมื่อเราเอาลูกค้าขึ้นมาเป็นตัวตั้ง มองจากมุมลูกค้ายุคโมบิลิตี้ที่สามารถเลือก ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบ ได้จากทุกที่ทุกเวลา เราจึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วจากข้อมูลปัจจุบัน (automate and real time) นำเสนอข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ (relevant) จึงหนีไม่พ้นกับการต้องใช้เทคโนโลยีแบบอินเทลลิเจนท์มาเป็นเครื่องมือ ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่โต้ตอบและแก้ไขปัญหาได้เหมือนหรือใกล้เคียงมนุษย์ บทความนี้ จึงขอนำเสนอภาพความเป็นไปของเทคโนโลยีที่ฉลาดมากขึ้นไว้เป็นไอเดียกว้าง ๆ ในการปรับแต่งระบบไอที และเพิ่มเติมส่วนที่ขาด เพื่อตอบโจทย์ความเป็นองค์กรธุรกิจอัจฉริยะ (Intelligence & Automation) อย่างแท้จริงในอนาคต

      บริการไอทีแบบครบจบทุกสิ่ง: รายงานสถานะด้านไอทีปี 2561 โดย สไปรซ์เวิร์ค ชี้ถึงรูปแบบบริการด้านไอทีที่ธุรกิจต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคตได้แก่ บริการระบบจัดการไอทีแบบอัตโนมัติ (IT Automation) บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (SDS) บริการเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน (Virtual SAN) บริการจัดการเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ (SDN) รวมถึงบริการจัดการโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวอร์เจนซ์ (Hyper-convergence) เช่นเดียวกับการ์ทเนอร์ ซึ่งชี้ให้เห็นบริการไอทีบนคลาวด์ที่กำลังเพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ บริการการบริหารกระบวนการธุรกิจบนคลาวด์ (BPaaS) บริการด้านความปลอดภัยและการบริหารจัดการคลาวด์ และบริการการจัดทำโฆษณาผ่านคลาวด์ เป็นต้น นับจากนี้ รูปแบบบริการด้านไอทีบนคลาวด์จะไม่จำกัดอยู่ที่บริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) แพลตฟอร์ม (PaaS) และอินฟราสตรัคเจอร์ (IaaS) อีกต่อไป แต่จะเป็นการจัดบริการไอทีทุกประเภทที่องค์กรต้องการ หรือ XaaS (Anything as a Service) การเลือกใช้บริการบนคลาวด์จึงต้องสมดุลทั้งในแง่ความรวดเร็วในการออกผลิตภัณฑ์และการถูกผูกขาดกับ vendor เจ้าใดเจ้าหนึ่ง แต่ทั้งนี้เนื่องจากบริการบนคลาวด์มีใหม่ๆออกมาจำนวนมากอย่างรวดเร็ว การ reimplement จะสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา

      ความลงตัวของคลาวด์ลูกผสม: คลาวด์แบบไฮบริดจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที และจะโตขึ้นกว่า 50% ในปี 2563 ตามการคาดการณ์ของ 451 รีเสิร์ช เนื่องจากองค์กรต้องการรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนได้เร็ว มีบริการที่สามารเรียกใช้ เช่น machine learning, AI เหมือนคลาวด์สาธารณะ แต่ยังคงความปลอดภัยอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง (Public cloud-like on Premise) ความคุ้มค่าของระบบงาน คือ การที่องค์กรสามารถจัดประเภทและปริมาณงานของแต่ละคนแต่ละแผนกว่าควรใช้งานบนไอทีระบบไหน การจัดปรับทรัพยากรไอทีให้พร้อมใช้ได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และควบคุมการใช้งานไอทีได้อย่างถูกต้อง ทั้งเป็นการบริหารค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่ไม่กระทบกับกระแสเงินสดของธุรกิจมากนัก เพราะเป็นการจ่ายเท่าที่ใช้จริง

        จาก Hyper-convergence สู่ Composable: โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวอร์เจนซ์ในการจัดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน กำลังขยับไปสู่ความเป็น Composable ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรข้อมูล (Resource Pool) หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในระบบ โดยมีซอฟต์แวร์ที่มีความชาญฉลาดมาเป็นตัวควบคุมหรือบริหารจัดการ (Software-Defined Infrastructure) เพื่อผสมผสาน สับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการทำงานต่าง ๆ หรือเรียกคืนทรัพยากรกลับสู่ส่วนกลางเมื่อไม่ต้องการใช้งาน ในแนวทางที่กว้างขวางมากกว่าเดิม เช่น เอพีไอ (API) ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสร้างระบบการจัดการทรัพยากรสำหรับทำงานแบบอัตโนมัติ และเพิ่มความสะดวกในการการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวอุปกรณ์บ่อยๆ เป็นต้น กล่าวคือมีอินเทลลิเจนท์เทคโนโลยีมาลดเวลาขั้นตอนการสร้างการโยกย้ายโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามความต้องการของแอปพลิเคชันและปริมาณงานโดยอัตโนมัติ

      เมื่อสตอเรจทุกตัว คือ เทคโนโลยีแฟลช: ณ ชณะนี้ เรากำลังก้าวเข้าสู่คลื่นลูกที่สามเทคโนโลยีสตอเรจที่เรียกว่า All Flash Data Center ที่ในอนาคตจะเป็นการใช้งานแฟลชเต็มรูปแบบ หมายความว่า แอปพลิเคชันต่อจากนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับแฟลชแทนการจัดเก็บบนดิสก์ประเภทจานหมุนซึ่งจะค่อย ๆ หายไปในที่สุด โดยการ์ทเนอร์ยืนยันว่า การใช้งานแฟลชในการจัดเก็บข้อมูลแทนฮาร์ดดิสก์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 76% ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาได้ 16% ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการ 48% และเพิ่มพื้นที่ในตู้จัดเก็บได้เกินกว่า 48% นอกจากนี้ เทคโนโลยีแฟลชซึ่งออกแบบมาให้จัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างหลากหลายในปริมาณมาก สับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว และทำให้การแบ็คอัพข้อมูลในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

       การเพิ่มพื้นที่สื่อสารและการทำงานเแบบดิจิทัล: จะเกิดการพัฒนาเครือข่ายไร้สายในโหมดการทำงานแบบคลาวด์ในยุคไอโอทีและบิ๊ก ดาต้า ผ่านอุปกรณ์เอพี (AP) เพื่อจ่ายคลื่นความถี่ที่สะอาดที่สุดและได้ความเร็วสูงสุด รวมทั้ง การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเอไอที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับใช้วิเคราะห์ขั้นสูงที่จะมีผลต่อการประกอบธุรกิจ หรือพัฒนากระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

      เราคงเคยได้ยิน “Work Hard หรือจะ Work Smart” Work Hard ได้ถูกแทนที่ด้วยเคลื่องจักรกับสมองกล ตอนนี้ Work Smart กำลังลังถูกแทนที่ด้วย Artificial Intelligent ทั้งสองยังคงต้องมีมนุษย์ดูแลกำกับเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ แต่ถ้าจะมองคุณค่าที่สูงขึ้นคงต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้มีความคิดสร้างสรรค์ Creativity ถึงจะอยู่รอดยั่งยืน เทคโนโลยีแบบอินเทลลิเจนท์ ก็จะยังคงเป็นเพียงแค่เครื่องมือของมนุษย์ต่อไป  

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!