หมวดหมู่: ท่องเที่ยว

TCEBศภวรรณ ตระรตนไทยเข้ม สร้างมาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์ พิจารณางานชุมชนประกอบด้วย

      สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กับ 17 ภาคี ตั้งเป้าผลักดันสถานที่จัดงานไมซ์ให้ได้มาตรฐาน 490 แห่งในปีนี้ พร้อมเผยให้คะแนนด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วยเพื่อความยั่งยืน

     นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยถึงการจัดทำมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standards (TMVS) ถือว่าเป็นภารกิจหลักอันหนึ่งในงานด้านการพัฒนาเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการสถานที่จัดงานไมซ์ และการส่งเสริมตลาดให้กับผู้ประกอบการไมซ์ไทยอีกด้วย

      ทีเส็บ ได้ร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา รวมทั้งสิ้น 17 แห่ง อาทิ เช่น สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก เป็นต้น ในการวางกรอบการพัฒนาและปรับปรุงให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงการ 3 ขั้นตอน 1. เริ่มจากการให้องค์ความรู้ 2. การตรวจประเมิน และ 3. การรับรองผล

     โดยขั้นตอนการให้องค์ความรู้นั้น จะมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ในเชิงลึกถึงมาตรฐานแต่ละตัวแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปีนี้ทีเส็บได้มีการอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ ระยอง ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และพัทยา ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งสิ้น 553 คน จากสถานประกอบการไมซ์ 267 แห่ง และมีผู้สนใจเข้าตรวจประเมินในปีนี้จำนวน 181 แห่ง สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการทั่วประเทศที่มีต่อมาตรฐาน TMVS และมีการต่ออายุ (Re-assessment) กว่า 74% ซึ่งเป็นผลตอบรับที่ดีเกินคาด

     ส่วนขั้นตอนการตรวจประเมินสถานที่จัดงานประเภทห้องประชุม จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาในด้านกายภาพ เทคโนโลยี และการจัดการ-บริการ ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านการจัดการอย่างยั่งยืน ส่วนประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งให้การสนับสนุน และการจัดการอย่างยั่งยืน กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการตรวจประเมินสถานที่จัดงานในแต่ละประเภท

      และขั้นตอนสุดท้าย การรับรองผลมาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย โดยคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา อาทิ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก เป็นต้น หากผู้ประกอบการผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ทีเส็บจะดำเนินการออกใบรับรองซึ่งมีอายุรับรอง 3 ปี และรายชื่อทั้งหมดจะอยู่ในแผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาดของ สสปน. เพื่อเชิญชวนให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการต่อไป

     ด้าน ดร. ณัฏฐณิชชา สิงห์บุระอุดม นักวิจัยในโครงการพัฒนามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การจัดทำหลักเกณฑ์การตรวจประเมินที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการใช้สถานที่ในการจัดงาน ตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้จัดงานทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ และคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญของมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standards (TMVS) ที่สร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ของไทย

      อีกทั้ง หลักเกณฑ์นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ให้บริการมีแนวทางในการควบคุม ดูแลคุณภาพของสถานที่และบริการ อีกทั้งยังเป็นสื่อการเรียนรู้ด้านองค์ประกอบและความต้องการในการใช้สถานที่เพื่อจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งการจัดประชุม การจัดแสดงสินค้า และการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ อีกด้วย ผลที่ได้จากการอบรม ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาและในฐานะผู้สังเกตการณ์ในการตรวจประเมิน พบว่า ผู้ประกอบการมีความสนใจศึกษา และมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ องค์ประกอบ ตัวชี้วัดมาตรฐานสถานที่จัดงานว่ามีความสำคัญและเชื่อมโยงกับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรอีกด้วย อย่างเช่นความสำคัญของการจัดทำเอกสาร หลักฐาน การตรวจสอบ ดูแลคุณภาพของแต่ละตัวชี้วัดที่ผู้ประกอบการเริ่มให้ความสำคัญและเข้าใจวิธีการจัดทำเอกสารดีขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ประกอบการในจังหวัดต่างๆ นอกเหนือจากจังหวัดไมซ์ซิตี้ ที่ดำเนินกิจการสถานที่ให้บริการจัดงานเริ่มให้ความสำคัญกับการขอเข้ารับการรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

     ในฐานะที่สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ที่ได้รับมอบหมายจาก ทีเส็บ ให้เป็นผู้ตรวจประเมิน นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ หรือ สรอ. กล่าวว่า สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้ดำเนินโครงการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งสถาบันฯ ยึดมั่นจรรยาบรรณในการดำเนินงานตามหลักวิชาชีพ รวมถึงการรักษาความลับ การดำเนินงานอย่างโปร่งใส เป็นกลางและอย่างมืออาชีพ

      และดำเนินงานตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17021-1, ISO 50003, UNFCCC Accreditation Standard & ISO/IEC 17020 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจประเมินและรับรองระบบการจัดการ, ระบบการจัดการพลังงาน, CDM & ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจ และ ISO 19011 แนวทางการตรวจประเมินระบบการจัดการ โดยเกณฑ์การพิจารณามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ครอบคลุมตัวชี้วัดด้านกายภาพ บริการและการจัดการ เทคโนโลยี ความปลอดภัย การสนับสนุน และการจัดการอย่างยั่งยืน

     นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการรับรองผลมาตรฐาน มาตรฐานดังกล่าวมีความสำคัญกับการยกระดับสถานที่จัดงานประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือ ในหลายปีที่ผ่านมามีการเติบโตของจำนวนสถานประกอบการรายใหม่และรายเก่าที่มีการต่ออายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมให้สถานประกอบการไทยเพิ่มศักยภาพในเรื่องของสถานที่จัดงานและในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้บริการ ก่อนเลือกสถานที่การจัดงาน ผมก็มองหาสถานที่ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นลำดับต้นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าเช่นกัน  

      “ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม และประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้ารวมทั้งสิ้น 315 แห่ง และในปีนี้ทีเส็บตั้งเป้าหมายมีผู้ประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS รวมทั้งสิ้น 175 แห่ง แบ่งเป็นประเภทห้องประชุม 150 แห่ง ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า 5 แห่ง และประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ 20 แห่ง คาดว่า จะส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานที่จัดงานไมซ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS รวมทั้งสิ้น 490 แห่ง ภายในสิ้นปี 2561 นี้ ซึ่งตอกย้ำความเป็นผู้นำของประเทศไทยในด้านจุดหมายปลายทางของจัดประชุมและนิทรรศการของอาเซียน”รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวทิ้งท้าย

         

Click Donate Support Web

468x60 16


BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!