หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

FITCH12 21


ฟิทช์ คงอันดับเครดิต บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ที่ BBB(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

 

      ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ -28 กันยายน 2561: บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) ของ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF ที่ ‘BBB(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-term Rating) ที่ ‘F3(tha)’ รวมถึงคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของ SF ที่ ‘BBB(tha)’

 

ปัจจัยที่มีผลต่ออันอับเครดิต

        อัตราส่วนหนี้สินยังคงอยู่ในระดับสูง: ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของ SF ซึ่งวัดจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (Adjusted Net Debt to EBITDAR) จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับ 5.5 - 6.5 เท่าในช่วง 3 ปีข้างหน้า (ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561: 4.5 เท่า) ทั้งนี้เนื่องจากแผนการลงทุนเพื่อขยายศูนย์การค้าโดยมีค่าใช้จ่ายลงทุนรวมประมาณ 1.7 พันล้านบาทในช่วงปี 2561-2563 ในขณะที่เงินปันผลรับจากบริษัทร่วมทุนที่ SF ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 ซึ่งเป็นผู้บริหารศูนย์การค้าเมกาบางนา ก็น่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดย SF ได้รับเงินปันผลจากเมกาบางนาประมาณ 200 ล้านบาทในปี 2561 (จากประมาณ 50 ล้านบาทในปี 2560) หลังจากที่แผนการขยายศูนย์ของศูนย์การค้าเมกาบางนาส่วนใหญ่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม SF ก็ได้มีการประกาศเงินปันผลจ่ายที่สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้อัตราส่วนหนี้สินของ SF น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอันดับเครดิตในปัจจุบัน

   อัตราการเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้นช่วยสนับสนุนการเติบโตของรายได้: SF น่าจะยังคงสามารถรักษารายได้ให้มีอัตราการเติบโตเล็กน้อยในช่วงปี 2561-2563 แม้ว่าจะมีศูนย์การค้าบางศูนย์ที่สัญญาเช่าที่ดินหมดอายุลงในช่วงปี 2561-2562 ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เช่าประมาณร้อยละ 13 ของพื้นที่เช่าทั้งหมดที่ SF มีอยู่ในปัจจุบัน โดยการเติบโตของรายได้มีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้นและปริมาณพื้นที่เช่าที่เพิ่มขึ้นจากการขยายศูนย์ SF ได้เปิดส่วนขยายส่วนแรกของศูนย์การค้ามาร์เก็ตเพลสนางลิ้นจี่ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่มีอยู่เดิมในใจกลางกรุงเทพมหานคร ในไตรมาสสี่ของปี 2560 และจะเปิดส่วนที่สองในไตรมาสสี่ของปี 2561 รวมถึงจะเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่คือมาร์เก็ตเพลสดุสิต ในปี 2562 ซึ่งส่วนขยายและศูนย์การค้าแห่งใหม่ดังกล่าว มีพื้นที่เช่ารวมคิดเป็นร้อยละ 6-7 ของพื้นที่เช่าทั้งหมดที่ SF มีอยู่ในปัจจุบัน ใน ปี 2561 SF สามารถหาผู้เช่ารายใหญ่รายใหม่มาทดแทนพื้นที่ว่างที่ผู้เช่ารายเดิมหมดสัญญาไปในศูนย์การค้า 2 แห่ง ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เช่าประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่เช่าทั้งหมดที่ SF มีในปัจจุบัน ฟิทช์คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยของศูนย์การค้าของ SF จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 88 ในปี 2561 และเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 94 ในปี 2562

      สถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่ง: SF เป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าขนาดกลางภายใต้แนวความคิดศูนย์การค้าชุมชน นอกจากนี้ ด้วยจำนวนศูนย์การค้าภายใต้การบริหารที่มีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่มีมายาวนาน ทำให้ SF มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกัน โดยโครงการศูนย์การค้าภายใต้การบริหารของ SF มีคุณภาพอยู่ในระดับสูงและมีการกระจายตัวในด้านทำเลที่ตั้ง แม้ว่าศูนย์การค้าบางแห่งของ SF จะไม่ประสบความสำเร็จนัก แต่อัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยของศูนย์การค้าส่วนใหญ่ที่ SF บริหาร ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 80 กลยุทธ์ในปัจจุบันของ SF คือการมุ่งขยายพื้นที่เช่าของศูนย์การค้าที่มีอยู่แล้วที่มีผลประกอบการที่ดี ส่วนศูนย์การค้าที่มีผลประกอบการที่ไม่ดีนัก SF พยายามที่จะเปลี่ยนแนวคิดของศูนย์และส่วนผสมของผู้เช่าเพื่อดึงดูดปริมาณสัญจรให้สูงขึ้น

      กระแสเงินสดรับที่แน่นอนจากสัญญาเช่าระยะยาว: SF มีสัญญาเช่าระยะยาวครอบคลุมพื้นที่ให้เช่าประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด โดยรายได้จากสัญญาเช่าระยะยาวคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของรายได้ค่าเช่าและค่าบริการทั้งหมด โดยฐานผู้เช่าหลักของ SF ประกอบด้วยผู้เช่าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีในตลาดและมีความหลากหลาย ผู้เช่ารายใหญ่ที่สุด 5 รายแรก ครอบคลุมพื้นที่ให้เช่าประมาณร้อยละ 38 ของพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด โดยผู้เช่ารายใหญ่ที่สุดซึ่ง มีพื้นที่เช่าคิดเป็นร้อยละ 17 ของพื้นที่ให้เช่าทั้งหมดเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ การที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ SF มาจากค่าเช่าพื้นที่ที่เก็บจากผู้เช่า ยังทำให้ SF ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงและทันทีจากการใช้จ่ายที่น้อยลงของผู้บริโภคอีกด้วย

      หนี้สินที่มีหลักประกันจะเพิ่มสูงขึ้น: SF มีแผนที่จะใช้เงินกู้แบบใช้ทรัพย์สินของโครงการเป็นหลักประกัน (Project Financing) สำหรับโครงการขยายและปรับปรุงศูนย์การค้าในปี 2561-2563 ดังนั้น หนี้สินที่มีหลักประกันของบริษัทฯ จึงอาจจะเพิ่มสูงขึ้น ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินที่มีหลักประกันต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ SF จะอยู่ในช่วง 1.5 เท่าถึง 2.0 เท่า ในปี 2563 ซึ่งฟิทช์มองว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน อย่างไรก็ตาม หากมีการเพิ่มขึ้นของหนี้สินที่มีหลักประกันที่สูงกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ กล่าวคือทำให้อัตราส่วนหนี้สินที่มีหลักประกันต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่า 2.0 เท่า จะทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันอย่างมีนัยสำคัญ และอาจทำให้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกันของ SF ถูกปรับลด โดยที่อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SF ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป

       SF เป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าขนาดกลางภายใต้แนวความคิดศูนย์การค้าชุมชนในประเทศไทย ซึ่งบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงที่สุดที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิต ได้แก่ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอนหรือ TREIT (A(tha)/แนวโน้มมีเสถียรภาพ) ซึ่งเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มไทคอน ปัจจุบัน TREIT มีขนาดของสินทรัพย์ลงทุนที่ใหญ่กว่า SF 3 เท่าและมีการกระจายความเสี่ยงในด้านผู้เช่าที่ดีกว่า SF TREIT มีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ (EBITDA Margin) ที่ระดับร้อยละ 75 –80 เมื่อเทียบกับ SF ที่ระดับประมาณร้อยละ 58 (ไม่รวมบริการสาธารณูปโภค) นอกจากนี้ SF ยังมีความเสี่ยงจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยตนเองในขณะที่ TREIT ไม่มี ดังนั้น TREIT จึงมีอันดับเครดิตที่สูงกว่า SF

        เมื่อเทียบกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD (BBB+(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโลจิสติกส์ภาคพื้นดินแบบครบวงจรรายใหญ่ในประเทศไทย JWD มีขนาดของรายได้และกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (EBITDAR) ที่ใหญ่กว่า SF ในขณะที่มีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่าต่อรายได้ (EBITDAR Margin) ที่ต่ำกว่า SF มีส่วนของรายได้ที่สามารถคาดการณ์ได้มากกว่า JWD และมีความสามารถรองรับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม JWD มีฐานลูกค้าที่อยู่ในธุรกิจที่หลากหลายกว่า SF มาก โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของ SF จะเป็นร้านค้าปลีกประเภทอาหาร ร้านอาหาร และผู้ให้บริการด้านบันเทิง ทั้งสองบริษัทมีแผนการลงทุนที่สูงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าและน่าจะมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงขึ้น โดยอัตราส่วนหนี้สินของ SF น่าจะยังคงสูงกว่า JWD ดังนั้น JWD จึงมีอันดับเครดิตที่สูงกว่า SF  

     เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC, A-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ สถานะเครดิตโดยลำพัง BBB+(tha)) ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย SF มีขนาดธุรกิจ ขนาดของรายได้และ EBITDAR ที่เล็กกว่า IRPC เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม IRPC ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของสินค้าโภคภัณฑ์และมีความผันผวนของรายได้มากกว่า SF SF มีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า IRPC มาก ดังนั้น SF จึงมีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตเมื่อพิจารณาจากสถานะเครดิตโดยลำพัง ของ IRPC

สมมุติฐานที่สำคัญ

 

สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ

-   รายได้รวมมีการเติบโตร้อยละ 2-4 ต่อปีในปี 2561-2562 และไม่มีการเติบโตในปี 2563

- อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่าต่อรายได้ (EBITDAR Margin) อยู่ในช่วงร้อยละ 44-45

- ค่าใช้จ่ายลงทุน (รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและปรับปรุงซ่อมแซม) รวมประมาณ 1.7 พันล้านบาทในช่วงปี 2561-2563

- เงินปันผลรับจำนวน 200 ล้านบาทต่อปีจากโครงการเมกาบางนาในช่วงปี 2561 – 2563

 

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยบวก:

•             อัตราส่วนหนี้สิน ซึ่งวัดจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (Adjusted Net Debt to EBITDAR) ที่ต่ำกว่า 4.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง (อัตราส่วนดังกล่าวสำหรับรอบ 12 เดือนล่าสุด ณ 30 มิถุนายน 2561 อยู่ที่ระดับ 4.5 เท่า)

•             รายได้ค่าเช่าและค่าบริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย (เฉพาะรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ โดยรวมเงินปันผลรับจากโครงการเมกาบางนา) ต่อดอกเบี้ยจ่าย อยู่ในระดับที่สูงกว่า 4.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง (อัตราส่วนดังกล่าวสำหรับรอบ 12 เดือนล่าสุด ณ 30 มิถุนายน 2561 อยู่ที่ระดับ 4.6 เท่า)

ปัจจัยลบ:

•             อัตราส่วนหนี้สิน ซึ่งวัดจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (Adjusted Net Debt to EBITDAR) ที่สูงกว่า 6.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง

•             รายได้ค่าเช่าและค่าบริการที่ลดลง ซึ่งทำให้อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย (เฉพาะรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ โดยรวมเงินปันผลรับจากโครงการเมกาบางนา) ต่อดอกเบี้ยจ่าย อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3.0 เท่าอย่างต่อเนื่อง

สภาพคล่อง

สภาพคล่องที่เพียงพอ: หนี้สินทั้งหมดของ SF (ไม่รวมค่าเช่าที่ดินรับรู้ด้วยวิธีสัญญาเช่าการเงิน) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 อยู่ที่ระดับ 2.2 พันล้านบาท ในช่วง 12 เดือนข้างหน้านับจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2561 หนี้สินจำนวน 753 ล้านบาทจะครบกำหนดชำระ สภาพคล่องของ SF ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นจำนวน 151 ล้านบาท และวงเงินแบบมีภาระผูกพันที่ยังไม่ได้เบิกถอน (Undrawn committed bank facilities) จำนวน 1 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 ประมาณร้อยละ 45 ของหนี้สินทั้งหมดของ SF (ไม่รวมค่าเช่าที่ดินรับรู้ด้วยวิธีสัญญาเช่าการเงิน) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 เป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน ในขณะที่ร้อยละ 21 เป็นเงินกู้ที่มีหลักประกัน

 

Fitch Affirms Siam Future at 'BBB(tha)'; Outlook Stable

     Fitch Ratings-Bangkok-28 September 2018: Fitch Ratings (Thailand) Limited has affirmed Siam Future Development Public Company Limited's (SF) National Long-Term Rating at 'BBB(tha)' with a Stable Outlook, National Short-Term Rating at 'F3(tha)' and outstanding senior unsecured debentures at 'BBB(tha)'.

 

KEY RATING DRIVERS

     Maintaining High Financial Leverage: Fitch expects SF's adjusted net debt/EBITDAR to increase to 5.5x-6.5x (1H18: 4.5x) over the next three years, driven by capex for expansions of about THB1.7 billion during 2018-2020. Cash flow will also be boosted over the same period with Mega Bangna, its 49%-owned joint venture, increasing its dividend distribution to SF to about THB200 million in 2018 (from about THB50 million in 2017), after most of Mega Bangna's expansion plan is completed. However, SF has increased its dividend payment, and hence leverage is likely to be at the upper end for its rating level.

        Higher Occupancy Supporting Growth: SF should achieve single-digit revenue growth a year in 2018-2020 despite the termination of some existing centres representing about 13% of total existing gross leasable area (GLA) during 2018-2019. Revenue growth stems from higher occupancy and additional GLA from expansion. SF launched the first expansion phase of Marketplace Nanglinchee, an existing centre in downtown Bangkok, in 4Q17 and will launch the second phase in 4Q18 as well as a new centre, Marketplace Dusit in 2019, totalling 6%-7% of its existing total GLA. In 2018, SF has also replaced the major tenants in its two centres for about 6% of its total GLA. Fitch expects the average occupancy rate of SF's portfolio to be about 88% in 2018 and rise to about 94% in 2019.

Strong Market Position: SF is a leading developer of Thai medium-sized open-air shopping centres. Its large portfolio, significant experience and expertise give SF an advantage over its peers. SF has a high-quality and diversified shopping-centre portfolio in terms of location. Although some community malls have not been successful, their occupancy remains higher than 80%. SF's current strategy is to focus more on expansion of existing centres with proven performance. On the other hand, SF has tried to change the mall concept and tenant mix of weaker centres to attract more traffic.

       Cash Flow Visibility: SF has long-term leases on about 60% of its total GLA, which contribute about 25% of total recurring income. Its anchor tenants are high-profile and diversified. The space rented to its five largest tenants accounts for about 38% of total GLA, while the largest tenant - occupying 17% of total GLA - is a related company. Additionally, rental from tenants provide a buffer against the immediate impact of weak consumption and spending.

       Secured Debt to Increase: The company plans to use project financing loans for its renovation and expansion projects in 2018-2020. Therefore, secured debt is likely to increase. Fitch expects SF's secured interest-bearing debt-to-EBITDA to be 1.5x-2.0x in 2020, which should leave bondholders unimpaired. A higher-than-expected increase in secured debt, to the extent that secured debt-to-EBITDA rises above 2.0x, nonetheless, is the level at which senior unsecured creditors' interests are materially subordinated to interests of secured or prior-ranking creditors. SF's debenture rating could, therefore, be downgraded, irrespective of the National Long-Term Rating.

 

DERIVATION SUMMARY

       SF is a leading community mall developer in Thailand. Its closest industry peer is TICON Freehold and Leasehold Real Estate Investment Trust's (TREIT, A/Stable), the largest industrial REIT in Thailand, whose properties are mainly sponsored by the TICON group. TREIT has a property portfolio that is 3x as large as and better tenant diversification than SF's. TREIT has a significantly higher EBITDA margin of 75%-80%, compared with SF's 58% (excluding utilities). In addition, SF has development risk exposure whereas TREIT does not. Therefore, TREIT is rated higher than SF.

       JWD InfoLogistics Plc (JWD, BBB+(tha)/Negative), a leading full-service in-land logistics provider in Thailand, is larger than SF in revenue and EBITDAR size while its EBITDAR margins are lower. SF has higher earnings visibility and more cushion against an economic downturn than JWD. Nonetheless, JWD's customers are more diversified by industry than SF's, which are mostly food retail stores, restaurants and entertainment services. Both have large investment plans over the next one to two years and are likely to see increasing financial leverage. SFs financial leverage is likely to remain higher than that of JWD. Therefore, JWD has a higher rating.

      Compared with IRPC Public Company Limited (IRPC, A-(tha)/Stable, standalone credit profile of BBB+(tha)), the third-largest oil refiner and the third-largest petrochemicals producer in Thailand, SF has significantly smaller operating scale, revenue and EBITDAR. IRPC has significantly higher earnings volatility than SF due to its exposure to commodity risk. However, SF's financial leverage is significantly higher than IRPC's. SF is, therefore, rated lower than IRPC based on IRPC's standalone credit profile.

 

KEY ASSUMPTIONS

Fitch's Key Assumptions within our Rating Case for the Issuer

- 2%-4% revenue growth a year in 2018-2019, and no growth in 2020

- EBITDAR margin at 44%-45%

- Total capex of about THB1.7 billion (including maintenance capex) in 2018-2020

- Dividend of about THB200 million a year from Mega Bangna in 2018-2020

RATING SENSITIVITIES

Developments That May, Individually or Collectively, Lead to Positive Rating Action

- Adjusted net debt/EBITDAR below 4.5x on a sustained basis (1H18: 4.5x)

- Substantial improvement in recurring income and rental-derived EBITDA (including dividend from Mega Bangna) /interest expense above 4.5x on a sustained basis (1H18: 4.6x)

Developments That May, Individually or Collectively, Lead to Negative Rating Action

- Adjusted net debt/EBITDAR at above 6.5x on a sustained basis

- Deteriorating recurring income with rental-derived EBITDA (including dividend from Mega Bangna) /interest expense below 3.0x on a sustained basis.

LIQUIDITY

               Adequate Liquidity: SF's total debt (excluding lease liabilities) at end-June 2018 was THB2.2 billion. Over the 12 months from end-June 2018, THB753 million of debt will mature. At end-June 2018 SF's liquidity was supported by a cash balance and investments of THB151 million, and undrawn committed bank facilities of THB1 billion. About 45% of total debt (excluding lease liabilities) at end-June 2018 were unsecured debentures while about 21% were secured loans.

ติดต่อ:     

Primary Analyst

สมฤดี ไชยวรรัตน์

Director

+66 2108 0160

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชั้น 17, เลขที่ 57 อาคารปาร์คเวนเชอร์, ถนนวิทยุ, แขวงลุมพินี, เขตปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

Secondary Analyst

ณิชยา สีมานนทปริญญา

Associate Director

+66 2108 0161

Committee Chairperson

Vicky Melbourne

Senior Director

+612 8256 0325

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!