หมวดหมู่: หุ้นเด่นวันนี้
16
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้อ่อนตัวลงตามตลาดภูมิภาค หลังปัจจัยนอกประเทศยังไม่เอื้อ
 
นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะอ่อนตัวลงในทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ติดลบเล็กน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ยังอยู่ในโซนแข็งค่าอยู่แต่ไม่มากเหมือนสัปดาห์ที่แล้ว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ของสหรัฐฯก็ยังอยู่ในระดับสูง แต่ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯก็ออกมาไม่ดีเท่าไร ทำให้ลดแรงกดดันไปได้บ้าง ส่วนเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอยู่
 
ทั้งนี้ ให้ติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่กำลังจะทยอยประกาศออกมาในปลายสัปดาห์นี้ และให้ติดตามการประชุมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ WORLD BANK ที่จะประชุมในสัปดาห์นี้ ซึ่งตลาดฯคาดปรับตัวเลข GDP โลกลง อันเป็นผลจากการค้าโลก และให้ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ด้วย
 
พร้อมให้แนวรับ 1,700-1,710 จุด ส่วนแนวต้าน 1,735-1,750 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (5 ต.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,447.05 จุด ร่วงลง 180.43 จุด (-0.68%) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,788.45 จุด ลดลง 91.06 จุด (-1.16%) และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,885.57 จุด ลดลง 16.04 จุด (-0.55%)
 
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 53.14 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 145.03 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 49.27 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 8.79 จุด,  ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 11.55 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.64 จุด
 
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการ เนื่องในวันเพื่อสุขภาพและการกิฬา
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (5 ต.ค.61) 1,720.52 จุด ลดลง 8.88 จุด (-0.51%)
- นักลงทุนต่างชาติต่างชาติขายสุทธิ 2,291.79 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 ต.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (5 ต.ค.61) ปิดที่ 74.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ขยับขึ้น 1 เซนต์
 
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (5 ต.ค.61) ที่ 4.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.83 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค มองกรอบวันนี้ 32.75-32.90
- สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยจี้รัฐเร่งออกกฎหมายคุมการประเมินราคาบ้าน ย้ำเป็นหนึ่งในจุดที่ทำให้เกิดช่องว่างเก็งกำไรที่อยู่อาศัย เปิดช่องผู้กู้สามารถขอกู้เงินสูงกว่ามูลค่าหลักประกันแท้จริงได้ กระทบต่อระบบสินเชื่อ อีกทั้งระบบ"แอลทีวี"ของไทยค่อนข้างอ่อน ให้วงเงินสูงถึง 90-95% ขณะต่างชาติให้เพียง 70-80% เท่านั้น
 
- ทอท.เทงบลงทุนสุวรรณภูมิเฟส 4 และเฟส 5 มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท รองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคน
- "ฟิทช์" จ่อคงเรทติ้งแบงก์ไทย มั่นใจเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ไร้ผลกระทบเกณฑ์ใหม่ธปท. เชื่อช่วยคุมความเสี่ยงได้ ประเมิน "เอ็นพีแอล" ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลภาระตั้งสำรองลดลง
 
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในไตรมาส 3 ที่ราว 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 7.7% YoY ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจาก 17.1% YoY ในไตรมาสที่ 2/2561 ขณะเดียวกัน ก็ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าประมาณ 9.1% โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองฯ และภาษี) ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนได้ราว 9.4 หมื่นล้านบาท แต่ก็เป็นอัตรากำไรที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าและระยะเดียวกันของปีก่อนหน้าราว 2.0%
 
- "พาณิชย์" เผยราคาเหล็กปรับตัวลดลง หลังเหล็กสำเร็จรูปส่วนเกินล้นตลาดโลก แถมช่วงนี้ฝนตกเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง ยิ่งฉุดให้ราคาลง เหมาะที่จะซ่อมแซมบ้าน สร้างบ้านใหม่ แต่หลังจากนี้ ราคามีแนวโน้มขึ้นต่อ หลังจีนมีแผนลดกำลังการผลิตช่วงปลายปี รัฐขับเคลื่อนการลงทุน
 
*หุ้นเด่นวันนี้
- AMATA (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 30 บาท คาดว่าจะเห็นกำไรเร่งตัวขึ้นใน H2/61 จากปัจจัยฤดูกาลที่ยอดขายที่ดินมักกระจุกตัวใน Q4 และคาดว่าจะได้แรงหนุนจาก EEC ที่ภาครัฐฯเร่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง Sentiment เชิงบวกจาก TFFIF ที่จะเข้าลงทุนในสิทธิจัดเก็บรายได้ 45% ในทางด่วนเส้นบูรพาวิถี (ลงหน้า AMATA) ซึ่งจำนวนรถหนาแน่นต่อเนื่อง  โดยยังคงคาดกำไรทั้งปีนี้ที่ 1,721 ล้านบาท +22% Y-Y และปีหน้า 1,975 ล้านบาท +15 Y-Y ด้านราคาหุ้นซื้อขายใกล้มูลค่าทางบัญชี และคิดเป็น PE2562 เพียง 13 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 16 เท่า
 
- BTS (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 10.70 บาท บริษัทมีแนวโน้มเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยมีหัวใจสำคัญสำหรับการเติบโตของบริษัทจะมาจากรายได้ในธุรกิจรถไฟฟ้าและสื่อโฆษณา ที่ยังคงมีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต โดยเชื่อว่าราคาหุ้นจะเริ่มมีการตอบรับกับการเปิดรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้ในช่วงปลายปีนี้ และการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน U City นอกจากนี้ยังประเมินส่วนเพิ่มจากการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองที่ 0.77 บาทต่อหุ้น แต่ยังไม่นำรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ นอกจากนี้เข้ามาอยู่ในประมาณการเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเปิดประมูล
 
- SVI (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 6.3 บาท ได้ Sentiment บวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ขณะที่ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วตั้งแต่ Q1/61 และจะเห็นการเติบโตต่อเนื่องอีกใน Q3/61 และ Q4/61 จากยอดขายและมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้น
 
 
 
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ ขณะเงินหยวนอ่อนค่าหลังแบงก์ชาติจีนลด RRR
 
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่าลงหลังจากธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 1% โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2561 นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนยังได้รับแรงกดดันเนื่องจากบรรดานักลงทุนเพิ่งกลับเข้าสู่ตลาดหลังหยุดยาว 1 สัปดาห์
 
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,768.21 จุด ลดลง 53.14 จุด, -1.88% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 26,717.60 จุด เพิ่มขึ้น 145.03 จุด, +0.55% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,467.85 จุด ลดลง 49.27 จุด, -0.47% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,258.73 จุด ลดลง 8.79 จุด, -0.39% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,198.24 จุด ลดลง 11.55 จุด, -0.36% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,773.51 จุด ลดลง 3.64 จุด, -0.20% ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการเนื่องในวันเพื่อสุขภาพและการกิฬา
 
สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในแบงก์ชาติจีนว่า เงินทุนส่วนเพิ่มจะถูกใช้เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็ก บริษัทเอกชน และบริษัทนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความคึกคักและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจจีน เสริมสร้างแรงกระตุ้นการเติบโตจากภายใน และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างเข้มแข็ง
 
ธนาคารกลางจีนระบุว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังคงมีเป้าหมายที่การปรับปรุงโครงสร้างสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และตลาดการเงิน และเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน
 
แถลงการณ์ของ PBOC ยังระบุด้วยว่า การลด RRR จะเติมเต็มช่องว่างด้านสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ และจะไม่เป็นการกดดันเงินหยวน เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้ไม่ใช่การผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะยังคงมีเสถียรภาพในระดับที่สมเหตุสมผลและสมดุล
 
"PBOC จะยังคงใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อรักษาระดับการคาดการณ์ของตลาดและทำให้ตลาดปริวรรตเงินตรามีเสถียรภาพ" แถลงการณ์ระบุ
การลด RRR จะครอบคลุมเงินฝากสกุลเงินหยวนของแบงก์พาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ร่วมหุ้น ธนาคารพาณิชย์ในเมือง ธนาคารพาณิชย์ในชนบท และธนาคารต่างประเทศ
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 99.80 จุดตามทิศทางตลาดหุ้นยุโรป หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) ตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆในยุโรปที่พากันร่วงลง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร
 
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.54 จุด ลดลง 99.80 จุด หรือ -1.35%
 
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆในยุโรป เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้  หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 134,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงฯระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ซึ่งพัดถล่มรัฐนอร์ธและเซาธ์แคโรไลนาในเดือนก.ย. เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในบางภาคอุตสาหกรรม
 
ส่วนอัตราการว่างงานเดือนก.ย.ของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 3.7% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8%
 
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นริโอทินโต ต่างก็ร่วงลงประมาณ 4%
ส่วนหุ้นโอคาโด กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์รายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.8%
นักลงทุนยังคงติดตามการเจรจาข้อตกลงระหว่างอังกฤษ และสหภาพยุโรป (EU) ในประเด็นที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยอังกฤษและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดในวันที่ 17-18 ต.ค. ซึ่งถ้าหากมีความคืบหน้าในการเจรจา Brexit ทั้งสองฝ่ายก็จะจัดการประชุมสุดยอดอีกครั้งในวันที่ 17-18 พ.ย.
 
ทางด้านนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวว่า เขาหวังว่าคณะมนตรียุโรปจะมีความคืบหน้าในการเจรจา Brexit กับอังกฤษในเดือนนี้ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำข้อตกลงกันในเดือนหน้า
 
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 99.80 จุดตามทิศทางตลาดหุ้นยุโรป หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) ตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆในยุโรปที่พากันร่วงลง ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร
 
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.54 จุด ลดลง 99.80 จุด หรือ -1.35%
 
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆในยุโรป เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้  หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 134,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงฯระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ซึ่งพัดถล่มรัฐนอร์ธและเซาธ์แคโรไลนาในเดือนก.ย. เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในบางภาคอุตสาหกรรม
 
ส่วนอัตราการว่างงานเดือนก.ย.ของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 3.7% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8%
 
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นริโอทินโต ต่างก็ร่วงลงประมาณ 4%
ส่วนหุ้นโอคาโด กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์รายใหญ่ของอังกฤษ ดิ่งลง 4.8%
นักลงทุนยังคงติดตามการเจรจาข้อตกลงระหว่างอังกฤษ และสหภาพยุโรป (EU) ในประเด็นที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยอังกฤษและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดในวันที่ 17-18 ต.ค. ซึ่งถ้าหากมีความคืบหน้าในการเจรจา Brexit ทั้งสองฝ่ายก็จะจัดการประชุมสุดยอดอีกครั้งในวันที่ 17-18 พ.ย.
 
ทางด้านนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวว่า เขาหวังว่าคณะมนตรียุโรปจะมีความคืบหน้าในการเจรจา Brexit กับอังกฤษในเดือนนี้ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำข้อตกลงกันในเดือนหน้า
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกบอนด์ยีลด์พุ่ง,การเมืองสหรัฐ-จีนตึงเครียด
 
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสื่อรายงานว่า รัฐบาลจีนแอบฝังชิปคอมพิวเตอร์ในเซิร์ฟเวอร์บริษัทสหรัฐ
 
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.9% ปิดที่ 376.41 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,111.90 จุด ลดลง 132.24 จุด, -1.08% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,359.36 จุด ลดลง 51.48 จุด หรือ -0.95% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.54 จุด ลดลง 99.80 จุด หรือ -1.35%
 
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ โดยณ เวลา 00.37 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.242% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2554 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.413%
 
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 134,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงแรงงานระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ซึ่งพัดถล่มรัฐนอร์ธและเซาธ์แคโรไลนาในเดือนก.ย. เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในบางภาคอุตสาหกรรม
 
ส่วนอัตราการว่างงานเดือนก.ย.ของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 3.7% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8%
 
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการเมืองระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากบลูมเบิร์ก บิสซิเนส วีค รายงานว่ารัฐบาลจีนได้ลักลอบฝังไมโครชิปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัทสหรัฐเกือบ 30 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐหลายแห่ง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจีนสามารถลักลอบเข้าถึงเครือข่ายภายในองค์กรของภาคเอกชนและรัฐบาลของสหรัฐ
 
ทางด้านนายจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐได้ออกมาแสดงความเห็นต่อข่าวดังกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงพฤติกรรมทางไซเบอร์ที่น่ารังเกียจของจีน
 
หุ้น Danske Bank ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก ร่วงลง 6.2% หลังจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า ธนาคารแห่งนี้มีการทำธุรกรรมในลักษณะ "mirror trade" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินของรัสเซีย
 
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นริโอทินโต ต่างก็ร่วงลงประมาณ 4%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปที่มีการเปิดเผยล่าสุด กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีระบุว่า ยอดสั่งซื้อของภาคโรงงานเดือนส.ค.ดีดตัวขึ้น 2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากต่างประเทศ นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า บริษัทเยอรมนีเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบของข้อพิพาทการค้าที่เกิดขึ้นทั่วโลก
 
อย่างไรก็ตาม หากเทียบเป็นรายปี ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค.ปรับตัวลง 2.1%
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 180.43 จุด วิตกบอนด์ยีลด์พุ่งหลังสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงาน
 
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อวันศุกร์ (5 ต.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นแอปเปิล อันเนื่องมาจากความตื่นตระหนกต่อรายงานข่าวที่ว่า จีนแอบฝังชิปคอมพิวเตอร์ในเซิร์ฟเวอร์บริษัทสหรัฐ
 
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,447.05 จุด ร่วงลง 180.43 จุด หรือ -0.68% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,788.45 จุด ลดลง 91.06 จุด หรือ -1.16% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,885.57 จุด ลดลง 16.04 จุด หรือ -0.55%
 
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงทั้งสิ้น 0.04% ขณะที่ดัชนี S&P500 ลดลง 0.98% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 3.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีนี้
 
ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ โดย ณ เวลา 00.37 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.242% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2554 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.413%
 
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 134,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงแรงงานระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ซึ่งพัดถล่มรัฐนอร์ธและเซาธ์แคโรไลนาในเดือนก.ย. เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในบางภาคอุตสาหกรรม
 
ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.7% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8%
สำหรับตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8 เซนต์ หรือ 0.3% ในเดือนก.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% เช่นเดียวกันในเดือนส.ค. และเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
 
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงหนักติดต่อกันเป็นวันที่ 2 หลังจากบลูมเบิร์ก บิสซิเนส วีครายงานว่า รัฐบาลจีนได้ลักลอบฝังไมโครชิปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัทสหรัฐเกือบ 30 แห่ง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจีนสามารถลักลอบเข้าถึงเครือข่ายภายในองค์กรของภาคเอกชนและรัฐบาลของสหรัฐได้ โดยบริษัทที่ได้รับผลกระทบรวมถึงบริษัทแอปเปิล อิงค์ และอเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส
 
ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิล ร่วงลง 1.6% หุ้นเฟซบุ๊ก ลดลง 0.96% หุ้นอเมซอน ดิ่งลง 1.04% หุ้นอัลฟาเบท ลดลง 0.8% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ร่วงลง 3.4% หุ้นไมโครซอฟท์ ลดลง 0.6% หุ้น Nvidia ร่วงลง 3.4% หุ้นไมครอน เทคโนโลยีส์ ลดลง 1.3% หุ้นซิสโก ซิสเต็มส์ ลดลง 0.52% และหุ้นอินเทล ดิ่งลง 2.3%
 
รายงานระบุว่า บริษัทกรีนไลท์ แคปิตอล ของนายเดวิด อินฮอร์น ได้ประกาศเทขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัทแอปเปิล เนื่องจากความกังวลที่ว่า รัฐบาลจีนอาจเดินหน้าตอบโต้มาตรการการค้าของสหรัฐ
 
หุ้นเทสลา ร่วงลง 7.1% หลังจากนายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทสลา ได้ทวีตข้อความล้อเลียนคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ว่า SEC ย่อมาจาก "Shortseller Enrichment Commission" ภายหลังจากที่ SEC ได้ยื่นฟ้องนายมัสก์ ฐานจงใจหลอกลวงนักลงทุน ด้วยการทวีตข้อความเกี่ยวกับการนำเทสลาออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด ซึ่งคดีความดังกล่าวทำให้นายมัสก์ต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 20 ล้านดอลลาร์ให้แก่ SEC และลงจากตำแหน่งประธานบริษัทเทสลาเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี
 
--อินโฟเควสท์
OO14712

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!