หมวดหมู่: อุตสาหกรรม

10122 สสว


ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ภาคการค้าและบริการ ในเดือนสิงหาคม 2562

          ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (TSSI) ประจำเดือนสิงหาคม 2562 ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการของ SME ทั่วประเทศ จำนวน 1,400 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนี TSSI ประจำเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 80.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม 2562 ที่อยู่ที่ระดับ 79.6 ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าฐานที่ 100 สะท้อนถึงผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงเทศกาลวันแม่ บางร้านค้ามีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย อย่างไรก็ตามประชาชนยังคงขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

          ดัชนี TSSI เดือนสิงหาคม 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากความเชื่อมั่นในองค์ประกอบด้านยอดจำหน่ายสินค้าและกำไรเป็นหลัก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้สึกว่าสถานการณ์ทางการค้าและบริการอยู่ในระดับที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังเป็นช่วงฤดูทำการเกษตร ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม สภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ มีการประหยัด และใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น นอกจากนี้ร้านค้ายังมีการแข่งขันสูงขึ้น ขายตัดราคากันเอง อีกทั้งยังเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวยังมาไม่มากเท่าที่ควร ผนวกกับในบางพื้นที่ยังมีปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม
          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการของ SME จำแนกตามสาขาธุรกิจ พบว่า สาขาธุรกิจส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจโดยรวมอยู่ในระดับเพิ่มขึ้น แต่ค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นยังคงน้อยกว่าค่าฐานที่ 100 ได้แก่ สาขาค้าส่งสินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค ค้าส่งวัสดุก่อสร้าง ค้าปลีกรถจักรยานยนต์/รถยนต์ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ การท่องเที่ยว โรงแรม/เกสต์เฮาส์/บังกะโล สันทนาการ วัฒนธรรม การกีฬา ร้านอาหาร/ภัตตาคาร บริการด้านสุขภาพ/ความงาม และกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์

          สำหรับดัชนี TSSI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 110.4 จากระดับ 100.6 ในเดือนก่อน ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ทางการค้าและบริการจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีความเห็นว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงปลายปี นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น มีการจองที่พักล่วงหน้าสูงขึ้น รวมไปถึงร้านค้า ร้านอาหารคาดว่าจะคึกคักมากขึ้น สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมคาดว่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนก็ยังคงกังวลในส่วนของความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้ไม่กล้าลงทุนเพิ่ม
          ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SME ภาคการค้าและบริการ จำนวน 1,400 วิสาหกิจทั่วประเทศ สำรวจระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม 2562 – 13 กันยายน 2562 ในเรื่อง “สาเหตุหลักที่ทำให้กิจการของท่านยอดขายลดลงและแนวทางการแก้ไขปัญหา” พบว่า

          สาเหตุหลักที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าทำให้ยอดขายลดลง แยกตามประเภทปัจจัย มีดังนี้
          • เมื่อแยกตามประเภทกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการในทุกกิจการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกับในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในภาคค้าส่งมองว่าความเชื่อมั่นรัฐบาลและสภาพอากาศเป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้ยอดขายลดลง
          • เมื่อพิจารณาแยกตามภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกับ ในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในกรุงเทพและปริมณฑลมองว่าความเชื่อมั่นรัฐบาล ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลง ภาคใต้มองว่าสภาพอากาศเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลง

          แนวทางการแก้ไขปัญหายอดขายลดลง จากปัจจัยภายในด้านต่างๆ ดังนี้
          1. การยังคงใช้การตลาดแบบเดิม แก้ไขปัญหาโดยการขยายช่องทางการขายสินค้า/บริการเพิ่มขึ้น เช่น ตลาดออนไลน์ เพื่อความสะดวกสบาย (ร้อยละ 43.90)
          2. การมีทุนไม่เพียงพอในการรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขปัญหาโดยขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว ขอเพิ่มวงเงินในการกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจหมุนเวียนได้ (ร้อยละ 73.33)
          3. การไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยขาย แก้ไขปัญหาโดยการลงทุนนวัตกรรม เทคโนโลยีให้เข้ามาช่วย (ร้อยละ 47.62)

          แนวทางการแก้ไขปัญหายอดขายลดลง จากปัจจัยภายนอกด้านต่างๆ ดังนี้
          1. ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยการที่รัฐบาลออกโครงการกระตุ้นการใช้จ่าย การกระจายรายได้ และส่งเสริมการท่องเที่ยว (ร้อยละ 75.62)
          2. พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลง แก้ไขปัญหาโดยการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมการซื้อ/การใช้จ่าย/ การชำระค่าสินค้าหรือบริการของลูกค้า (ร้อยละ 52.18)
          3. คู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น แก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มช่องทางการรับลูกค้าให้มากขึ้น ปรับแผนการตลาด ปรับตัวให้ทันคู่แข่ง เพิ่มมาตรฐานของร้าน (ร้อยละ 34.87)

 


AO10122

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!