หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

1.AAA A AATOP


TOP ไทยออยล์ลงทุน 4.8 พันล้านเหรียญ หรือ 1 แสน 5 หมื่นล้าน ใช้เวลา 4 ปีดำเนินโครงการ จากเงินสภาพคล่อง และหุ้นกู้ 565 ล้านเหรียญ

     TOP ไทยออยล์ลงทุน 4.8 พันล้านเหรียญ หรือ 1 แสน 5 หมื่นล้าน ใช้เวลา 4 ปีดำเนินโครงการ จากเงินสภาพคล่อง และหุ้นกู้ 565 ล้านเหรียญ คาดค่าการกลั่นครึ่งปีหลังฟื้น เข้าไฮซีซั่น-อานิสงส์มาตรฐาน IMO ทุ่มงบปี 63 ราว 1.8 พันล้านเหรียญฯ ทยอยลงทุนโครงการ CFP จากมูลค่าลงทุน 4.82 พันล้านเหรียญฯ คาดปี 2573 กำไรสุทธิ 1 พันล้านเหรียญฯ เดินเครื่อง CFP-กำลังผลิตเพิ่ม เล็งนำ 'อุบล ไบโอเอทานอล'ระดมทุนตลท.คาดชัดเจนใน 1-2 ปีนี้

       นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)TOP เผยว่า ไทยออยล์ได้ใช้งบลงทุน 4.8 พันล้านเหรียญ หรือ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อทำให้โรงกลั่นไทยออยล์มีความทันสมัย และมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มการกลั่นจากเดิม 275,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน และสามารถอัพเกรดผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เคยผลิตน้ำมันเตาที่เคยมีราคาต่ำไปเป็นน้ำมันสำหรับอากาศยานและน้ำมันดีเซล ซึ่งมีมูลค่าที่สูงขึ้นรวมถึงการต่อยอดในการที่จะลงทุนเพิ่มในด้านปิโตรเคมี ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยที่มาของเงินลงทุนส่วนหนึ่งมาจากสภาพคล่องของบริษัทที่มีอยู่แล้วในแต่ละปี และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากเงินกู้ โดยล่าสุดได้ออกหุ้นกู้จำนวน 565 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

 

      "การลงทุนของไทยออยล์ในอนาคต จะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาว จากการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงกลั่นสร้างโอกาสการเป็นศูนย์กลางพลังงานของประชาคมอาเซียนในอนาคต ทั้งยังเป็นเครื่องมือพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มยอดขายได้ในอนาคต และยังเป็นโครงการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับน้ำมันดิบจากหลายแหล่งผลิต เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอากาศยาน ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศในระยะยาว โดยเป็นการเปลี่ยนน้ำมันเตา และยางมะตอยมูลค่าต่ำที่จะมีความต้องการลดลง ไปเป็นน้ำมันดีเซล และน้ำมันอากาศยานที่มีมูลค่าสูงและมีความต้องการที่เติบโตมากขึ้นตามสภาวะอุตสาหกรรม"

       ทั้งนี้ นายวิรัตน์ กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์ตลาดน้ำมันดิบไตรมาส 4/2562 มีแนวโน้มอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังซบเซา ประกอบกับการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐเพิ่มขึ้นจากการเปิดท่อขนส่งน้ำมันในสหรัฐช่วงปลายปี ประกอบกับตัวเลขภาคเศรษฐกิจของสหรัฐเดือนก.ย. ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 47.8 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากปัญหาสงครามการค้า ขณะที่กำลังการผลิตจากซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้นหลังจากสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้ง

      "แผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี 2562 และแนวโน้มราคาพลังงานว่าบริษัทเร่งลงทุนโครงการพลังงานสะอาด (ซีเอฟพี) ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,834 ล้านเหรีญสหรัฐ เบื้องต้นแบ่งเป็นเงินลงทุนปีนี้ 1,280 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2563 ใช้เงินลงทุน 1,788 ล้านเหรียญสหรัฐ รวม 2 ปีกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการกระตุ้นการลงทุนตามนโยบายของภาครัฐ และทำให้เกิดการจ้างงานอย่างมหาศาล"

       สำหรับ แนวโน้มค่าการกลั่น นายวิรัตน์บอกว่า ค่าการกลั่นในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และแนวโน้มถึงช่วงต้นปี 2563 บริษัทคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคขยายตัว รวมถึงการเข้าสู่ฤดูหนาว และฤดูการท่องเที่ยว ประกอบกับการบังคับใช้กฎระเบียบควบคุมการปล่อยกำมะถันของเรือเดินทะเล ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 นี้ จะส่งผลให้เรือต้องเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำหรือน้ำมันดีเซลแทนน้ำมันเตากำมะถันสูง ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะดีเซลและค่าการกลั่นในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น

      นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ เปิดเผยต่อว่า บริษัทยังมีแผนที่จะเจรจากับกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อปรับโครงสร้างบริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด (TM) ที่เป็นบริษัทขนส่งทางเรือ ให้เข้ามาอยู่ในกลุ่ม ปตท. ด้วย นอกจากจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านธุรกิจโลจิสติกส์แล้ว ยังตอบสนองความต้องการของบริษัทในเครือ ปตท. ที่มีความต้องการใช้บริการขนส่งทางเรือเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

       "เห็นได้จากที่ ปตท. เข้าร่วมประมูลโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 ในพื้นที่อีอีซี หากมีการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทในเครือก็จะทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่า" เขากล่าว

     ทั้งนี้ บริษัทฯประมาณการกำไรสุทธิในปี 2573 จะมีกำไรสุทธิแตะระดับ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 312 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ตามแผนดำเนินโครงการพลังงานสะอาด (CFP) มูลค่าการลงทุน 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นน้ำมันจากเดิม 2.75 แสนบาร์เรล/วัน เป็น 4 แสนบาร์เรล/วัน ที่จะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องในไตรมาส 1/66 คาดว่าจะสร้างกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (GIM) ที่ไม่รวมผลกระทบจากสต็อกน้ำมันอย่างน้อยอีก 4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาทำได้ราว 7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

       นอกจากนี้ โครงการ CFP จะทำให้ผลพลอยได้ คือ แนฟทา ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่จะใช้ในธุรกิจปิโตรเคมีออกมา 2.2 ล้านตัน/ปี ซึ่งบริษัทมีแผนจะต่อยอดขยายลงทุนปิโตรเคมี ภายใต้โปรแกรม Beyond CFP เพื่อขยายกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์ หรือโอเลฟินส์ จากปัจจุบันที่บริษัทมีกำลังการผลิตในสายอะโรเมติกส์เพียงพาราไซลีน (PX) ราว 5.4 แสนตัน/ปีเท่านั้น โดยการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมดังกล่าว อยู่ระหว่างศึกษาว่าอาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม บมจ.ปตท. (PTT) หรือเปิดกว้างกับพันธมิตรรายอื่นได้เช่นกัน ซึ่งหากต่อยอดโครงการ Beyond CFP แล้วเสร็จก็จะผลักดันมาร์จิ้นและกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นด้วย

       ส่วนการวางกลยุทธ์การดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้ 3 ด้าน ประกอบด้วย Strengthen the Core (ธุรกิจการกลั่นน้ำมันและธุรกิจไฟฟ้า) ที่จะเพิ่มกำลังการผลิต และอัพเกรดผลิตภัณฑ์ตามโครงการ CFP หนุนให้มีรายได้ที่มั่นคงจากธุรกิจไฟฟ้า และการบริหารสินทรัพย์และการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ,Value Chain Enhancement (ธุรกิจเคมี) ที่จะดำเนินการขยายห่วงโซ่การผลิตต่อยอดจากโครงการ CFP ในธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ หรือโอเลฟินส์ ตลอดจนผลิตผลิตภัณฑ์พิเศษมูลค่าสูง (High Value Specialty Product) และ Seed the Option (ธุรกิจนวัตกรรม) ที่ดำเนินการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ผ่านทางวิจัยและพัฒนา การร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพในธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการผลิต ,เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต และเทคโนโลยีเปลี่ยนธุรกิจปิโตรเลียม

       นายวิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทยังมองโอกาสการปรับพอร์ตสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีความเหมาะสม โดยมีบางส่วนที่ต้องลงทุนเพิ่มอย่างธุรกิจปิโตรเคมี หรือบางส่วนที่อาจต้องจัดพอร์ตใหม่ให้มีความเหมาะสม อย่างธุรกิจเดินเรือที่ปัจจุบันดำเนินการในนามของบริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด (TM) ก็อาจต้องพิจารณาร่วมกับปตท. ที่เริ่มจะมีโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมในอนาคตด้วย รวมถึงธุรกิจเอทานอลที่ถือหุ้นอยู่ 20% ในบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด ก็อาจจะลดสัดส่วนการลงทุนลงหากบริษัทดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น เป็นต้น

         สำหรับ ในช่วง 5 ปี (ปี 2562-2566) บริษัทวางแผนใช้เงินลงทุนประมาณ 4.83 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ใช้ลงทุนในโครงการ CFP ที่ในปีนี้จะใช้ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และปีหน้า จะใช้ 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนปีต่อๆ ไป จะทยอยใช้ประมาณ 600-700 เหรียญสหรัฐ/ปี สำหรับ การจัดหาเงินทุนโดยใช้เงินสดที่บริษัทมีอยู่ประกอบกับเงินสดจากการดำเนินงานในอนาคต และการจัดหาเงินผ่านการกู้ยืม และหรือออกหุ้นกู้เพิ่มเติมโดยพิจารณาตามสภาวะตลาดตราสารหนี้ที่เหมาะสม

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!