หมวดหมู่: บริหาร-จัดการ

ESG


SustainabilityIndex: ดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน 1995-2017

     การลงทุนอย่างยั่งยืน และมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากว่า 10 ปี และมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยผู้ลงทุนตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างผลประกอบการทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ให้ความสำคัญในการเลือกลงทุนโดยคำนึงถึงผลกระทบจากการประกอบธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จากข้อมูลการลงทุนของ UNPRI ในระหว่างปี ค.ศ. 1995-2017 แสดงให้เห็นว่า มีการนำเงินไปลงทุนที่ให้ความสำคัญต่อ ESG ซึ่งมีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากจากมูลค่าประมาณ 6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐได้เพิ่มสูงถึงกว่า 10 เท่าจนกลายเป็นมูลค่าประมาณ 65 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

     การขยายตัวของความต้องการที่จะลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งทั่วโลกได้ริเริ่มพัฒนาดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน หรือที่เรียกกันไม่ว่าจะเป็น Sustainability Index , ESG Index หรือ SRI Index (ในบทความนี้จะขอให้คำว่า Sustainability Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ที่ประเมินด้านการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่ไปกับการบริหารงานอย่างมีหลักบรรษัทภิบาล พร้อมกับการสร้างผลประกอบการที่ดีในทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

      ลักษณะโดยทั่วไปของ  SustainabilityIndex ในต่างประเทศ จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและวิธีการเก็บข้อมูล ESG ของบริษัท เพื่อให้ได้รายชื่อบริษัทที่จะอยู่ใน SustainabilityIndex สรุปได้ดังนี้

  1. เกณฑ์การคัดเลือก มีการกำหนดใน  2 แนวทางหลัก คือ
    1. ESG    Exclusionary screening/Negative Screening กำหนดว่าจะคัดกรองบริษัทประเภทใดออกจากการพิจารณา โดยจะคัดกรองบริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมาะสมออก เช่น บริษัทผลิตสุรา บุหรี่ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคาสิโน บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนอาวุธนิวเคลียร์หรือเกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธ เป็นต้น

1.2 ESG Rating/Positive Screening กำหนดว่าจะคัดกรองให้บริษัทใดรวมเป็นบริษัทที่เข้าข่ายในการนำไปพิจารณาต่อ ซึ่งจะมีการนำหลักเกณฑ์ ESG มาใช้ประเมินบริษัท

  1. วิธีการเก็บข้อมูล ESG ของบริษัท ผู้จัดทำดัชนีอาจใช้วิธีการให้บริษัทตอบแบบสอบถาม หรือเก็บข้อมูลของบริษัทที่เปิดเผยไว้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น รายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน เว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น

ตัวอย่าง SustainabilityIndex ในต่างประเทศ

บทความฉบับนี้ขอยกตัวอย่าง SustainabilityIndex ในต่างประเทศ โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ผู้จัดทำดัชนีชั้นนำ (Index Provider) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ S&P Dow Jones, MSCI, FTSE Russell และ STOXX
    1. ตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่มีการจัดทำดัชนีความยั่งยืนเอง รวมทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ Bursa Malaysia Stock Exchange, Singapore Stock Exchange, Korea Stock Exchange และ Hong Kong Stock Exchange

กลุ่มผู้จัดทำดัชนีชั้นนำ (Index Provider)
เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของดัชนี

ผู้จัดทำดัชนี S&P Dow Jones MSCI FTSE Russell STOXX
ชื่อดัชนี DJSI MSCI ESG Index FTSE4Good Index STOXX Global ESG Leaders indices
ปีที่จัดทำดัชนี ปี 2534 ปี 2533 ปี 2543 ปี 2554
ผู้ประเมิน ESG RobecoSAM MSCI ESG Research FTSE Russell Sustainalytics
วิธีการประเมิน

-   RobecoSAM เป็นผู้จัดทำการประเมิน ESG โดยให้บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์คัดกรองเบื้องต้นจากมูลค่าตามราคาตลาด ที่ได้รับเชิญให้ตอบแบบประเมินในลักษณะ Corporate Sustainability Assessment (CSA) และการทำ Media Stakeholder Analysis (MSA)

-   หากบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับเชิญ ไม่ตอบแบบประเมิน ทาง RobecoSAM จะประเมินบริษัทจากข้อมูลที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป

-    MSCI ESG Research รวบรวมข้อมูลของบริษัทที่อยู่ภายใต้ MSCI All Country World Index และไม่เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ยาสูบ พลังงงานนิวเคลียร์ และอาวุธ จากแหล่งต่างๆ เช่น เอกสารเผยแพร่ของบริษัท เอกสารของหน่วยงานรัฐ งานวิจัยจากสถาบัน การศึกษาทั้งที่มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ในฐานข้อมูลออนไลน์ ข่าวจากสื่อต่างประเทศและสื่อท้องถิ่น รายงานและบทสัมภาษณ์จากกลุ่ม NGO

-    บริษัทให้ความเห็นรายงานสรุปผลจากการรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นและสามารถเพิ่มเติมเอกสารเพื่อประกอบการประเมินได้ในระยะเวลาตามที่ MSCI ESG Research กำหนด  

FTSE Russell รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทที่อยู่ใน FTSE Index และไม่เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าประเภทยาสูบ อาวุธหรือส่วนประกอบอาวุธ และถ่านหิน

จากรายงานประจำปี เว็บไซต์ของบริษัท และข้อมูลที่มีการเผยแพร่อื่นๆ

Sustainalytics กำหนด ESG Rating ของบริษัทที่อยู่ภายใต้ STOXX Global 1800 Index และตัดบริษัทในกลุ่มต้องห้ามออกจากการประเมิน โดยผ่านกระบวนการวิจัยและวิเคราะห์จากข้อมูลของบริษัท รายงาน สื่อ และงานศึกษาต่างๆ

เกณฑ์ประเมิน ESG

ตัวชี้วัดทั่วสำหรับใช้ประเมินทุกอุตสาหกรรม และตัวชี้วัดเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสำหรับใช้ประเมินในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น

-   สิ่งแวดล้อม: นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและระบบบริหารจัดการ การรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

-   สังคม: การรายงานผลกระทบทางสังคม การพัฒนาแรงงาน แนวทางการจูงใจและรักษาบุคคลที่มีความสามารถ การเป็นพลเมืองที่ดีขององค์กรและนโยบายด้านการกุศล ตัวชี้วัดการปฏิบัติด้านแรงงาน การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย มาตรฐานสำหรับคู่ค้า

-   เศรษฐกิจ: หลักบรรษัทภิบาล จรรยาบรรณทางธุรกิจ การต่อต้านการทุจริต การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ นวัตกรรม

-    การบริหารจัดการด้านความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน เพื่อระบุความเสี่ยงที่สำคัญในด้าน ESG ซึ่งบริษัทกำลังเผชิญ

-    การประเมินผลกระทบในเชิงลบของการดำเนินธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากความเกี่ยวข้องของบริษัทต่อประเด็นที่เป็นวิพากษ์วิจารณ์ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ UN Global Compact, ILO Core Conventions หรือข้อบังคับขององค์การระหว่างประเทศอื่นๆ ซึ่งหัวข้อหลักในการประเมินครอบคลุมตัวชี้วัด 5 ประเด็น คือ สิ่งแวดล้อม ลูกค้า สิทธิมนุษยชนและชุมชน สิทธิของผู้ใช้แรงงานและห่วงโซ่อุปทาน บรรษัทภิบาล

-    การพิจารณาประเภทของธุรกิจของบริษัท เช่น ผู้ผลิต ผู้ลงทุน ให้การสนับสนุนหรือได้รับรายได้จากธุรกิจประเภทนั้นๆ ในอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักศาสนาและศีลธรรม หรือมีความเกี่ยวข้องกับประเทศที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติ เป็นต้น

ตัวชี้วัดทั่วไป และตัวชี้วัดเฉพาะตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น

- สิ่งแวดล้อม: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการมลพิษและการใช้ทรัพยากร

- สังคม: ความรับผิดชอบต่อลูกค้า สิทธิมนุษยชนและชุมชน มาตรฐานด้านแรงงาน สุขภาวะและความปลอดภัย

- บรรษัทภิบาล: การต่อต้านการทุจริต ความโปร่งใสเกี่ยวกับภาษี การบริหารความเสี่ยง หลักบรรษัทภิบาล

ตัวชี้วัดด้าน ESG เช่น

-สิ่งแวดล้อม: นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การลดใช้ทรัพยากรและพลังงาน มาตรการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการจัดซื้อสีเขียว ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์และบริการ

-สังคม: นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การเพิ่มความหลากหลายในด้านแรงงาน การดูแล ฝึกอบรม และสุขภาวะความปลอดภัยของพนักงาน  ห่วงโซ่อุปทาน

-บรรษัทภิบาล: นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่นและติดสินบน ความโปร่งใสทางภาษี จริยธรรมทางธุรกิจ โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ คุณภาพการรายงาน CSR การติดตามดูแลประเด็น ESG นโยบายในการจัดการข้อโต้แย้ง

ตัวอย่างดัชนี

DJSI World, DJSI North America, DJSI Europe, DJSI Asia Pacific, DJSI Emerging Markets, DJSI Korea, DJSI Australia, DJSI Chile

MSCI Global Sustainability Indexes, MSCI World ESG Index, MSCI Emerging ESG Index FTSE4Good Global Index, FTSE4Good USA Index, FTSE4Good Europe Index, FTSE4Good UK Index, FTSE4Good Japan Index, FTSE4Good Emerging Index, FTSE4Good Emerging Latin America Index, FTSE4Good ASEAN 5 Index, FTSE4Good Australia 30 STOXX Euro ESG Leader50 Index, Euro STOXX Sustainability Index, STOXX Asia/Pacific ESG Leader 50 Index, STOXX North America ESG Leader 50 Index

ตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่มีการจัดทำดัชนีความยั่งยืนเอง

เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของดัชนี

ตลาดหลักทรัพย์ Bursa Malaysia
Stock Exchange
Korea Stock Exchange Hong Kong
Stock Exchamge
Singapore Stock Exchange
ชื่อดัชนี FTSE4Good Bursa Malaysia Index KRX ESG Leaders 150 Index Hang Seng Corporate Sustainability Index SGX Sustainability Index
SGX Sustainability Enhanced Index

SGX Sustainability Leader Index

SGX Sustainability Leaders Enhanced Index

ปีที่จัดทำ ปี 2557 ปี 2558 ปี 2553 ปี 2559
ผู้ประเมิน ESG FTSE Russell เป็นผู้จัดทำดัชนีโดยมีเครื่องมือที่เรียกว่า ESG Rating ใช้สำหรับประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัท CGS ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเกี่ยวกับ CG และ CSR ซึ่งจัดตั้งโดย Korea Exchange, Korea Financial Investment Association, Korea Listed Company Association และ KOSDAQ Listed Company Association ปัจจุบันให้บริการด้านการประเมิน ESG ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และการจัดทำรายงานความยั่งยืน Hong Kong Quality Assurance Agency (HKQAA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งโดยรัฐบาลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและการค้า ตลอดจนมีหน้าที่ในการประเมินผลด้านต่างๆ Sustainalytics เป็นองค์กรวิจัยอิสระซึ่งเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ขององค์กรธุรกิจ
วิธีการประเมิน FTSE Russell รวบรวมข้อมูลของบริษัทที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป เช่น เว็บไซต์ รายงานประจำปีหรือรายงานความยั่งยืน เป็นต้น

-   CGS รวบรวมข้อมูลที่เผยแพร่ของบริษัทและข้อมูลในฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประเมินในเบื้องต้น

-   แจ้งผลประเมินและให้บริษัท ส่งข้อมูลประกอบการประเมินเพิ่มเติมกลับมายัง CGS

-   HKQAA ทำการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เปิดเผยผ่านทาง เว็บไซต์ของบริษัท รายงานประจำปีหรือรายงานความยั่งยืน และข่าวสารที่เกี่ยวข้องตามสื่อต่างๆ

-   ส่งข้อมูลที่ประเมินแล้วให้บริษัทรับทราบ โดยบริษัทสามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติม และจัดส่งกลับมาให้ HKQAA ได้

Sustainalytics เป็นผู้พิจารณากำหนดESG Rating บริษัท โดยผ่านกระบวนการ วิจัยและวิเคราะห์จากข้อมูลของบริษัท รายงาน สื่อ และงานศึกษาต่างๆ

เกณฑ์ประเมิน ESG

- สิ่งแวดล้อม: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการมลพิษและการใช้ทรัพยากร

- สังคม: ความรับผิดชอบต่อลูกค้า สิทธิมนุษยชนและชุมชน มาตรฐานด้านแรงงาน สุขภาวะและความปลอดภัย

- บรรษัทภิบาล: การต่อต้านการทุจริต ความโปร่งใสเกี่ยวกับภาษี การบริหารความเสี่ยง หลักบรรษัทภิบาล

-    สิ่งแวดล้อม: กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานผู้รับผิดชอบ หลักปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ได้ การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย

- สังคม: พนักงาน การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม ผู้บริโภค ชุมชน

- บรรษัทภิบาล: สิทธิของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท (การเปิดเผยข้อมูล ระบบตรวจสอบ  การปันผล

แยกเป็นคำถามทั่วไปและเฉพาะอุตสาหกรรม ครอบคลุมในหัวข้อ

– สิ่งแวดล้อม

-  สังคม: สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การพัฒนาชุมชน

-  บรรษัทภิบาล: การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม ผู้บริโภค

ตัวชี้วัดด้าน ESG เช่น

-สิ่งแวดล้อม: นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

การลดใช้ทรัพยากรและพลังงาน มาตรการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการจัดซื้อสีเขียว ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์และบริการ

-สังคม: นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การเพิ่มความหลากหลายในด้านแรงงาน การดูแล ฝึกอบรม และสุขภาวะความปลอดภัยของพนักงาน  ห่วงโซ่อุปทาน

-บรรษัทภิบาล: นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่นและติดสินบน ความโปร่งใสทางภาษี จริยธรรมทางธุรกิจ โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ คุณภาพการรายงาน CSR การติดตามดูแลประเด็น ESG นโยบายในการจัดการข้อโต้แย้ง

การคัดเลือกในขั้น Eligibility screening หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดใน 200 ลำดับแรก และมีสภาพคล่อง

-   มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยรายวันในช่วง 3 เดือน อยู่ใน 50% แรกของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายตามปกติ

-   มี Traded Value เฉลี่ยรายวันในช่วง 3 เดือน อยู่ใน 70% แรกของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายตามปกติ

-   มี Free-float Ratio มากกว่า 10%

-   หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดโดยเฉลี่ยในรอบ 12 เดือนสูงสุด 150 ลำดับแรก

-   มี Turnover velocity ขั้นต่ำที่ 0.1% อย่างน้อย 10 เดือนจาก 12 เดือน

-    มี Free-float Ratio มากกว่า 15% (ถ้าเป็นหุ้นใหม่ ต้องมากกว่า 20%)

-    มี Turnover velocity ขั้นต่ำที่ 0.04% (ถ้าเป็นหุ้นใหม่ ขั้นต่ำที่ 0.06%)

-    มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 60 ล้านเหรียญดอลล่าร์สิงคโปร์ (ถ้าเป็นหุ้นใหม่ ต้อง 100 ล้านเหรียญดอลล่าร์สิงคโปร์)

การคัดเลือกหุ้น
เข้าสู่ดัชนีในดัชนี
หุ้นที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนจำนวน 42 หุ้น

หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผ่าน 50% ในแต่ละมิติ จำนวน 150 ลำดับแรก

หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ได้คะแนนความยั่งยืนสูงสุด 30 ลำดับแรก หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินและผ่านเกณฑ์ของการทำรายงานความยั่งยืน ซึ่งมีเท่ากับ 84 หุ้น หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ได้คะแนนความยั่งยืนอยู่ใน 50 percentile ของ Asia-Pacific Peer Group และอยู่ใน 25 percentile ของ Global Peer Group ซึ่งมีเท่ากับ 24 หุ้น

วรางคณา ภัทรเสน

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!