หมวดหมู่: กสทช.

SCB EIC logo


กสทช. เดินเครื่องประมูลคลื่นความถี่ อีไอซีชี้ยังมีแนวโน้มแข่งขันสูง

 

Event

    กสทช. เผยร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ที่กำลังจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2018 โดยกำหนดราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่น 1800 MHz ที่ 37,457 ล้านบาท และคลื่น 900 MHz ที่ 37,988 ล้านบาท ซึ่งในร่างหลักเกณฑ์ฯ ไม่มีการห้ามผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วมการประมูลแต่ได้กำหนดอัตราค่าปรับสูงขึ้นจาก 5% เป็น 15% ของราคาขั้นต่ำ ทั้งนี้ คาดว่าการประมูลคลื่นจะเสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการโอนย้ายลูกค้า

 

Analysis

     การประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ยังคงมีแนวโน้มแข่งขันสูง เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน คนไทยมีการใช้งานข้อมูลเฉลี่ยสูงถึง 5GB/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 25 เท่าจากช่วง 4 ปีก่อนหน้า ทั้งนี้ คลื่นความถี่ทั้งสองคลื่นต่างมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดยคลื่น 1800 MHz เป็นคลื่นความถี่สูงและเหมาะสำหรับการให้บริการที่ต้องการความเร็วสูงอย่างบริการ 5G ในอนาคต สะท้อนให้เห็นจากการทดสอบเทคโนโลยี 5G ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเป็นการทำบนคลื่นความถี่สูงทั้งหมด เช่น คลื่น 3.5GHZ ในขณะที่คลื่น 900 MHz เป็นคลื่นความถี่ต่ำย่านสุดท้ายที่จะมีการประมูล[1]

     อีไอซี มองว่าโอกาสที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของไทยมีแนวโน้มที่จะเริ่มเข้าใกล้จุดอิ่มตัว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 138% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วที่ 127% ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจำนวนเลขหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ไม่มากทั้งในระยะกลางและยาว อย่างไรก็ดี หากมีผู้เล่นรายใหม่ จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์มาก่อน เช่น ในกรณีของสิงคโปร์ที่ค่ายมือถือรายใหม่อย่าง TPG เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของออสเตรเลียมาก่อน เป็นต้น

 

Implication

   การประมูลคลื่นความถี่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเร่งระดมทุนในระยะสั้น และหาแนวทางเพิ่มรายได้จากช่องทางอื่นในระยะยาว โดยอีไอซีประเมินว่าต้นทุนค่าคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะประมูลในปี 2018 มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) ของค่ายมือถือ ซึ่งมีโอกาสเพิ่มสูงถึง 6 เท่าภายในระยะเวลา 4 ปีทำให้ค่ายมือถือต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่อง นอกจากนี้ เมื่อประมูลคลื่นได้แล้ว ผู้ประกอบการควรแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าธุรกิจมากขึ้น เช่น SK telecom

     ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ของเกาหลีใต้ที่ให้บริการ IoT โซลูชั่นสำหรับทำ smart farm และ smart factory รวมถึง at&t ผู้ให้บริการมือถือในสหรัฐฯ ที่ให้บริการโซลูชั่นเพื่อติดตามและบริหารจัดการการขนส่งสินค้า เป็นต้น

 

นักวิชาการ คาดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่แข่งขันหนักใน 1800 MHz เหตุราคาต่ำกว่า-ขนาดมากกว่า

        นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวถึงการชี้แจงการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 990 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลตามร่างหลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นความถี่ที่ กสทช.จัดทำขึ้น คาดว่าการแข่งขันในการประมูลจะไปอยู่ที่คลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์

       เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบราคาเริ่มต้นของความถี่ทั้ง 2 ย่าน จะเห็นว่าย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มีระดับราคาสูงกว่าย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ 37,988 ล้านบาท ขณะที่ขนาดของชุดคลื่นความถี่มีเพียง 5 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นผู้ที่สนใจประมูลน่าจะเป็นผู้ที่ต้องได้คลื่นชุดนี้จริงๆ ขณะที่คลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดราคาต่ำกว่า แต่มีขนาดของคลื่นแต่ละชุดที่นำมาประมูลถึง 15 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อพิจารณาจากความสนใจและความคุ้มค่าในการลงทุนรวมถึงการเป็นความถี่พื้นฐานในการให้บริการ 4G ของคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์จึงน่าจะมีการแข่งขันมากกว่า

       "คนที่อยากได้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ต้องอยากได้มากจริงๆ สมมติว่าเข้าประมูลรายเดียวต้องเคาะราคา 1 ครั้ง ราคาของคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะไปแตะ 38,000 ล้านบาท ทันที อย่างไรก็ดี ขณะนี้ กสทช.ยังไม่บอกว่าจะนำคลื่น 900 หรือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นมาประมูลก่อน ซึ่งมันมีผล เพราะถ้านำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มาประมูลก่อนแล้วหากไม่มีผู้เข้าประมูลจะพักไว้ พอประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์แน่นอนมีผู้ให้บริการรายหนึ่งที่ต้องการคลื่นความถี่อย่างมาก ต้องเข้ามาประมูลแน่ ขณะที่อีกสองรายนั้น รายหนึ่ง (AIS) น่าจะสนใจในคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ชุดแรก เพราะสามารถนำมาต่อกับคลื่นที่ตัวเองมีอยู่เดิมทำให้มีคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพิ่มขึ้นเป็น 15 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนรายใหญ่ที่เหลือ ซึ่งมีคลื่นในมือมากที่สุดในตลาด น่าจะรอดูท่าทีและเข้าประมูลเพื่อกันคู่แข่งให้ประมูลด้วยมูลค่าที่สูงขึ้น" นายสืบศักดิ์ กล่าว

       นายสืบศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในการประมูลครั้งนี้ การแข่งขันและผลการประมูลมีความเป็นไปได้ในทุกแบบ แม้ดูว่าน่าจะมีผู้ประกอบการ 2 รายใน 3 รายที่มีอยู่จะสนใจคลื่นความถี่ แต่อาจมีการเข้าประมูลเพื่อทำให้ราคาสูงจนมูลค่าคลื่นสูงมากที่สุด หรืออย่างดุเดือดที่สุด อาจจะมีการประมูลจากรายใหญ่รายหนึ่งที่มีคลื่นในมืออยู่แล้ว เพื่อทำให้คู่แข่งที่มีคลื่นอยู่น้อยที่สุดไม่ได้คลื่นความถี่เลยก็ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้หมด แล้วแต่ผู้ให้บริการจะพิจารณาอย่างไร

       ส่วนความเป็นห่วงเรื่องการสมยอมราคาหรือฮั้วประมูล น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลต้องมีมากกว่าจำนวนใบอนุญาตน่าจะทำให้การมาสมยอมราคาหรือฮั้วกันทำได้ยาก

       อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!