หมวดหมู่: แบงก์พาณิชย์

1aaaACanteen


กรุงไทยนำเป๋าตุงพลัสสู่ Digital Canteen กรมสรรพากร

     ธนาคารกรุงไทย เปิดให้บริการเป๋าตุงพลัส ในศูนย์อาหารกรมสรรพากรเป็นแห่งแรกของหน่วยงานรัฐ พร้อมเตรียมยกระดับประสบการณ์ของผู้ซื้อผ่านแอปฯ ใหม่ เป๋าตังเพียงแตะเพื่อจ่าย โดยการนำเอา Fingerprint มายืนยันการชำระเงิน และเร่งพัฒนาบริการ e-Donation ให้สามารถลดหย่อนภาษีได้อัตโนมัติ โดยนำร่องออกใบอนุโมทนาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่วัดใหญ่ จ.พิษณุโลก เป็นที่แรก

       นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้เปิดตัว Digital Canteen กรมสรรพากร โดยเป็นหน่วยงานราชการแห่งแรกที่นำแอปพลิเคชั่น "เป๋าตุงพลัส" มาให้ร้านค้ารับชำระเงินด้วย QR Code ตามนโยบาย Thailand 4.0 ที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และสนับสนุนนโยบาย National e-Payment ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560

       นายประสงค์ พูนธเนศ เปิดเผยว่า กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงการคลังมีภารกิจ ในการเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมผลักดันโครงการด้าน Digital Innovation ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เริ่มต้นจากระดับองค์กรให้ข้าราชการกรมสรรพากรได้เรียนรู้ทดลองใช้ และขยายผลไปยังโครงการต่างๆ ของกรมสรรพากรให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้ โดยได้รับความร่วมมือธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ภารกิจของกรมสรรพากรบรรลุเป้าหมาย ซึ่ง Digital Canteen เป็นหนึ่งตัวอย่างในการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงการคลังในการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

       นายผยง ศรีวณิช กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเป๋าตุง กรุงไทย ซึ่งเป็นแอปฯ สำหรับร้านค้าในการรับชำระเงินด้วย QR Code สู่ "เป๋าตุงพลัส" โดยกรมสรรพากรนับเป็นหน่วยงานราชการแห่งแรกที่ติดตั้ง แอปฯ ดังกล่าว ซึ่งเป็นแอปฯ ที่เหมาะกับศูนย์อาหารที่มีร้านค้าย่อยหลายร้านหรือธุรกิจที่มีสาขาย่อยหลายสาขา ช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าของร้านค้าหรือผู้บริหารศูนย์อาหาร สามารถดูสรุปยอดขายของแต่ละร้านได้ และสามารถแบ่งรายได้จากรายรับของร้านค้าย่อยมาให้กับผู้บริหารศูนย์อาหารได้โดยอัตโนมัติ โดยกรุงไทยเป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวที่มีบริการในรูปแบบนี้

       สำหรับ ผู้ซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน KTB netbank ทำได้ง่ายเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งถือว่า สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารอื่น และในอนาคตอันใกล้นี้ ธนาคารจะยกระดับประสบการณ์ของผู้ซื้อผ่านแอปฯ "เป๋าตัง" แค่ Tap and Go หรือแตะเพื่อจ่าย โดยการนำเอา Fingerprint มาใช้เพื่อยืนยันการชำระเงิน ช่วยตอบโจทย์ด้านความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้ใช้บริการและเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารได้นำ KRUNGTHAI QR Code ไปให้บริการในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานราชการต่างๆ และมีแผนสร้างถนนไร้เงินสดทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2561 ส่วนบริการ e-Donation สำหรับผู้บริจาคเงินผ่าน QR Code ได้พัฒนาให้สามารถออกใบอนุโมทนาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้บริจาค โดยนำร่องแห่งแรกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก และ ในอนาคตผู้บริจาคเงินจะสามารถหักลดหย่อนภาษีจากการบริจาคเงินได้อัตโนมัติตามความสมัครใจของผู้บริจาคอีกด้วย

 

KTB ตั้งเป้าสินเชื่อปี 61 โต 6-7% เน้นกลุ่มเอสเอ็มอี-รายใหญ่-กลุ่มเกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐ, NPL ลดลงจากปีนี้

      นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (KTB)เปิดเผยว่า ในปี 61 ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อรวมเติบโต 6-7% โดยในปีหน้าธนาคารจะเน้นการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้สนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีที่เป็นสินเชื่อใหม่ในปี 61 อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท รวมสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยธนาคารมีสินเชื่อคงค้างในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท

      อีกทั้ง การปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการภาครัฐที่เริ่มมีการลงทุนโครงการมากขึ้น จะเป็นปัจจัยผลักดันการขยายตัวด้านสินเชื่อของธนาคารให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมกับธนาคารจะกระจายการให้สินเชื่อในกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการต่างๆของภาครัฐมากขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดการให้สินเชื่อแบบซัพพลายเชน เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ทั้งกลุ่มผู้รับเหมาหลักและกลุ่มผู้รับเหมาย่อยที่รับงานต่อมาจากผู้รับเหมาหลัก และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

     “การปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยในปี 61 จะเป็นการกระจายตัวไปในกลุ่มต่างๆมากขึ้น และต่อยอดไปจากกลุ่มลูกค้าหลักของธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าภาครัฐ ที่ปีหน้าจะมีการลงทุนโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆมากขึ้น เราก็จะใช้สินเชื่อที่เป็นแบบซัพพลายเชนเข้าไปให้กับลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐไม่ว่าจะเป็นยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพื่อทำให้การให้สินเชื่อเป็นไปแบบครบวงจรตามกลยุทธ์ของธนาคาร ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีก็ยังเป็นตัวหลักที่เรายังต้องขยาย เพราะเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี" นายผยง กล่าว

      ส่วนแนวโน้มสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารในปี 61 คาดว่า จะลดลงจากปีนี้ที่คาดว่าอยู่ที่ 4.5% หลังจากที่ธนาคารได้ปรับกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ มีความรอบคอบและระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น อีกทั้งการปรับปรุงกระบวนติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้แนวโน้มของ NPL มีแนวโน้มที่ลดลง แม้ว่า NPL ของธนาคารกรุงไทยจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าธนาคารพาณิชย์อื่นในระบบที่อยู่ที่ 3%ปลายๆ โดยในปีนี้ธนาคารคาดว่า NPL ของธนาคารจะมีมูลค่าจะไม่เกิน 1 แสนล้านบาท หรืออยู่ที่ราว 9.8 หมื่นล้านบาท

      อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มของ NPL จะลดลง แต่ยังมีปัจจัยที่ธนาคารยังต้องตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นในปี 61 เพราะการทยอยปรับงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีใหม่ (IFRS9) ที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 62 โดยมาตรฐานบัญชีใหม่นั้นธนาคารจำเป็นต้องตั้งสำรองฯเต็มจำนวนของมูลหนี้ที่ธนาคารคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตตั้งแต่วันแรกที่ธนาคารอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า จากเดิมที่ธนาคารสามารถทยอยตั้งสำรองจนครบได้ ซึ่งส่งผลให้การตั้งสำรองฯจะสูงขึ้นกว่ามาตรฐานบัญชีเดิม และอาจจะส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคาร

       “แม้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทยอยปรับมาตรฐานบัญชีใหม่จะมีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารในปีหน้าบ้าง ซึ่งกระทบเหมือนกันทั้งหมดในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่แค่กรุงไทยที่เดียว แต่วิสัยทัศน์ของธนาคารตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะเน้นการมีกำไรที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน จากเน้นการทำกำไรสูงสุด ซึ่งธนาคารจะดำเนินงานที่ตอบโจทย์แผนงานของภาครัฐ โดยเฉพาะในแง่ของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน ที่จะใช้กลยุทธ์แบบ Government Centric ที่เริ่มจากการให้บริการทางการเงินในหน่วยงานภาครัฐก่อน และกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ป้าล้อมเมืองและดาวกระจาย ที่เข้าถึงกลุ่มต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นลูกค้าหลักของธนาคาร ซึ่งตอนนี้ธนาคารยอมรับว่าบริการหรือผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามแม้ว่าให้กำไรไม่มากนัก ธนาคารก็ยินดีทำ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น"นายผยง กล่าว

      สำหรับ แนวโน้มการตั้งสำรองฯของธนาคารในไตรมาส 4/60 คาดว่าจะเห็นการตั้งสำรองฯที่ลดลงจากไตรมาส 3/60 หลังจากที่ธนาคารได้ทยอยตั้งสำรองฯในกลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาในช่วงที่ผ่านมาเต็มจำนวนแล้ว ทำให้แรงกดดันในการตั้งสำรองฯในไตรมาส 4/60 ผ่อนคลายลง โดยกลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาของธนาคารในปีนี้มีอยู่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ (EARTH) กลุ่มข้าว และกลุ่มมันสำปะหลัง ซึ่งมีมูลหนี้รวมกันกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นมูลหนี้ของ EARTH มากที่สุดที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยความคืบหน้าของกระบวนตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้กับ EARTH ยังอยู่ในกระบวนการภายใน ยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการสรุปผลได้ ซึ่งยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบอีกสักระยะ แต่ธนาคารก็ได้มีการรายงานให้กับทรวงการคลังได้ทราบเป็นระยะๆ ซึ่งทางกระทรวงการคลังได้ย้ำว่าให้ธนาคารกรุงไทยสรุปการตรวจสอบอย่างเร็วที่สุด

       ด้านการเดินหน้าตอบโจทย์แผนงานภาครัฐในการเป็นสังคมไร้เงินสดนั้น นายผยง กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเป๋าตุง กรุงไทย ซึ่งเป็นแอปฯ สำหรับร้านค้าในการรับชำระเงินด้วย QR Code สู่ “เป๋าตุงพลัส" โดยกรมสรรพากรนับเป็นหน่วยงานราชการแห่งแรกที่ติดตั้ง แอพฯ ดังกล่าว ซึ่งเป็นแอพฯ ที่เหมาะกับศูนย์อาหารที่มีร้านค้าย่อยหลายร้านหรือธุรกิจที่มีสาขาย่อยหลายสาขา ช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าของร้านค้าหรือผู้บริหารศูนย์อาหาร สามารถดูสรุปยอดขายของแต่ละร้านได้ และสามารถแบ่งรายได้จากรายรับของร้านค้าย่อยมาให้กับผู้บริหารศูนย์อาหารได้โดยอัตโนมัติ โดยกรุงไทยเป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวที่มีบริการในรูปแบบนี้

      สำหรับ ผู้ซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน KTB netbank ทำได้ง่ายเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารอื่น และในอนาคตอันใกล้นี้ ธนาคารจะยกระดับประสบการณ์ของผู้ซื้อผ่านแอพฯ “เป๋าตัง" แค่ Tap and Go หรือแตะเพื่อจ่าย โดยการนำเอา Fingerprint มาใช้เพื่อยืนยันการชำระเงิน ช่วยตอบโจทย์ด้านความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้ใช้บริการและเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารได้นำ KRUNGTHAI QR Code ไปให้บริการในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานราชการต่างๆ และมีแผนสร้างถนนไร้เงินสดทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2561 ส่วนบริการ e-Donation สำหรับผู้บริจาคเงินผ่าน QR Code ได้พัฒนาให้สามารถออกใบอนุโมทนาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้บริจาค โดยนำร่องแห่งแรกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก และในอนาคตผู้บริจาคเงินจะสามารถหักลดหย่อนภาษีจากการบริจาคเงินได้อัตโนมัติตามความสมัครใจของผู้บริจาคอีกด้วย

      ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีจำนวนร้านค้าที่ให้บริการชำระเงินด้วย QR Code อยู่ที่กว่า 1 แสนราย และธนาคารจะพยายามเพิ่มจำนวนร้านค้ามากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับเดินหน้าติดตั้งเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้ติดตั้งเครื่อง EDC ไปเกินเป้าหมายแล้วที่ 19,000 เครื่อง จากเป้าหมายที่ 18,000 เครื่อง พร้อมกับในปีช่วงเดือนม.ค. 61 ธนาคารเตรียมเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ที่สามารถทดแทนกระเป๋าเงินของลูกค้า ที่สามารถรวบรวมบัตรและใบเสร็จต่างๆไว้ในแอพพลิเคชั่นเดียว โดยมีชื่อเรียกว่า “เป๋าตัง" ที่จะเป็นแอพพลิเคชั่นในส่วนของลูกค้า

                        อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!